การบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
Keywords:
การบริหารจัดการ, การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
(2) ปัจจัยการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย และ (4) แนวทางการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมกับบริบทในสังคมไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสนามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 376 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย ตามกรอบนโยบาย ปัจจัยภายในองค์การและปัจจัยภายนอกองค์การ มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในภาพรวม (3) มี 5 ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ต่อการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยในภาพรวม เรียงจากมากไปน้อยคือ ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปัจจัยสภาพทางการเมือง สุดท้ายคือ ปัจจัยลักษณะของหน่วยงานปฏิบัติ และ (4) แนวทางการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทยที่เหมาะสมกับบริบทในสังคมไทย คือ ต้องคำนึงถึงกาลเวลาในโลกของเทคโนโลยีด้วย
References
กรมป่าไม้. (2545). สถิติกรมป่าไม้ 2545. ค้นจาก http://forestinfo.forest.go.th/55/Content.aspx?id=156.
กรระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). รายงานประจำปี 2551 ของ สำนักงานปลัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ค้นจาก http://lib.mnre.go.th/index.php/2012-03-06-08-13-44/16-
-03-06-08-02-18-2012-03-06-08-02-18/31-2551.
จักรพันธุ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2531). เทคนิคการวิจัยทางรัฐศาสตร์. เชียงใหม่: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทวินทร์ มีทรัพย์. (2554). ระดมจนท.ลุยวังน้ำเขียวปิดประกาศให้รื้อรีสอร์ต. มติชน. (26 กรกฎาคม 2554). 1, 13.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS กรุงเทพมหานคร:
บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธานินทร์ สุภาแสน. (2541). ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชุมชน: ศึกษาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งของชุมชนในเขตอำเภอสอง จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประวิทย์ เรืองจรัส. (2544). การจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำงาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์. (2543). ปัญหาการเมืองเรื่องนโยบายป่าชุมชนในประเทศไทย : ศึกษากรณีร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ.2543 . วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มติชน. (2555). รองอธิบดีกรมป่าไม้ ยึดคืนพื้นที่บุกรุกป่าสงวนฯบนเขาภูพาน 950 ไร่. ค้นจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353155166
ยุดา รักไทย. (2543). คนฉลาดเขียน--Effective writing (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
รัชนี โพธิแท่น. (2553). การจัดการทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทย. ในรวมบทความและข้อเขียนของนักศึกษาโครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นจาก http://tpir53.blogspot.com/2010/12/blog-post_04.html
รัฐธวิทย์ พะมุลิลา. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของเกษตรกร ในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรพงศ์ บุหลันพฤกษ์. (2543). การดำเนินการโครงการจัดตั้งป่าชุมชนของบ้านแม่หารจังหวัดแม่ฮ่องสอน.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริศักดิ์ มีเมล์. (2537). บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : ศึกษากรณีการดำเนินงานของมูลนิธิธรรมนาถ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรรเสริญ ทองสมนึก. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนบ้านทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.