การพัฒนานโยบายการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • โชดก ปัญญาวรานันท์

Keywords:

นโยบาย, การบริหารงานวิชาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของนโยบายและการปฏิบัติด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (2) พัฒนานโยบายและการปฏิบัติด้านการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประชากรในการวิจัยคือผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 436 คน โดยคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลโดยพิจารณาจาก (1) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนในช่วงที่โรงเรียนมีผลสอบ O-Net ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาไทย ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มารับตำแหน่ง และ (2) ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของโรงเรียน จากเกณฑ์ดังกล่าวสามารถคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาเป้าหมายได้ 7 คน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามและนัดสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาถึงแนวปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา และ พัฒนาเป็นนโยบายที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของนโยบายและการปฏิบัติด้านการบริหารงานวิชาการ พบว่า ไม่มีการกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงการปฏิบัติซึ่งกำหนดเป็นแผนปฏิบัติราชการเป็นโครงการแบบปีต่อปี (2) นโยบายและการปฏิบัติด้านการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ นโยบายที่เน้นการอ่านออกเขียนได้ เน้นการพัฒนาหลักสูตรโดยอ้างอิงตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลาง และ ปรับเปลี่ยนแผนการบริหารงานวิชาการตามผลการประเมินเป็นรายภาคการศึกษาหรือปีการศึกษา

References

สสวท.( 2555). โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สสวท.( 2556). โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

David, Gow. (1991). Collaboration in development consulting: Stooges, hired guns, or musketeers?. Human Organization, 9(50), 1-15.

Deming, E. W. (1950). The new economics for industry, government, education (2nd ed.). New York: MIT Press.

Eyestone, R. (1942). The threads of public policy: a study in policy leadership. New York: Prentice Hall.

Feinberg, F. M. (2005). Modeling Parametric Evolution in a random utility framework, Journal of Business and Economic Statistics, 23(5), 282-294.

Hallinger, P. & Murphy, H. (1982). Assessing the instructional management behavior of principals. The elementary school journal 86(2), 217-247.

Harold D. Lesswall. (1963). Power and society: A Framework for political inquiry. New York: Atherton Press.

Marzano, Waters, B. A. & McNulty, R. J. (2005). School leadership that works: From research to results.

Alexandria, VA: ASCD.

Rogene A. Buchholz. (1992). Principles of environmental management: The greening of business. New York: Prentice Hall.

Yehezkel Dror (1968). Public policymaking reexamined. San Francisco: Chandler.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย