รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา

Authors

  • สุเทพ เชื้อสมุทร

Keywords:

รูปแบบการพัฒนา, สมรรถนะ, พระสอนศีลธรรม, โรงเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา  และ  (2) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัยนี้ ได้แก่ พระสอนศีลธรรมที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ภาค 13  จำนวน 398 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น 0.82 ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมมี  6  ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหาและหลักสูตร  (2) ด้านการจัดการเรียนการสอน (3) ด้านผลิตและการใช้สื่อ (4) ด้านการวัดและประเมินผล  (5) ด้านการวิจัยในชั้นเรียน  (6) ด้านคุณลักษณะและเจตคติ โดยมีคุณภาพระดับมากที่สุด  คือสมรรถนะด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน  นอกนั้นมีคุณภาพระดับมาก  ตามลำดับ  ผลการประเมินรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญโดยการสนทนากลุ่มทุกคน   มีความคิดเห็นว่ารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดในด้านความเหมาะสม   ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ สำหรับด้านความเป็นไปได้มีความคิดเห็นในระดับมาก   ในการสรุปแนวทางการพัฒนาสมรรถนะสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การฝึกอบรม   การปฐมนิเทศ  การกำกับติดตาม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผล และ การรายงาน

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิส.

รัชยา รัตนะถาวร, พิพัฒน์ พันเลียว และ อนัน แซแกะ. (2552). การติดตามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพของผู้สำเร็จ

การศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

รัตติกาล ละเต็บซัน. (2554). สมรรถนะการจัดการของบัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตภายใต้กรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

สุรวุฒิ ยัญญลักษณ์. (2550) การพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลขององค์การข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ขอบข่ายงานวิชาการในโรงเรียน มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา

ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครู เล่มที่ 17 การพัฒนาบุคคล. เอกสารประกอบการฝึกอบรม.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). สู่เส้นทางวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา

(2552-2553). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.). (2552). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศีลธรรมในสถานศึกษา : กรณีศึกษา

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: ผลงานวิจัยของสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.). (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักพระพุทธศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). รายงานการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรม). กรุงเทพฯ:

คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ:

คุรุสภาลาดพร้าว.

Cloc, G. (1997). The Quest for competencies. Journal Training in the State of Indiana. The United States of America: AliExpress.

Gwen, F. (1993). A comparative study of teacher preparation, competency and performance appraisal.

Dissertation Abstracts International.

Marmon, N. G. (2002). Competency at work : Models for superior performance. New York: Action research partner.

McClelland, D. C. (1991). Test for competence, rather than intelligence, American Psychologists.

Wasson, A. I. (1994). A study of new Mexico elementary teachers. Perceived competency in bilingual education. Dissertation Abstracts International.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย