ผลกระทบภายนอกของการปลูกพืชเศรษฐกิจ: ยางพารา

Authors

  • สิทธิพัทธ์ เลิศศรีชัยนนท์

Keywords:

ยางพารา, ผลกระทบ, ต้นทุนทางสังคม

Abstract

การใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศจีนมีสัดส่วนการใช้ยางพาราเพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ สอดคล้องกับสัดส่วนการปลูกยางพาราในไทย ลาว และเวียดนาม เพิ่มขึ้นทั้งเพื่อส่งออกไปประเทศจีนและใช้ภายในประเทศ ทั้งนี้การปลูกยางพารามีผลดีเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวสวนยาง ส่วนผลเสียคือทำให้ดินเสื่อมเกิดการพังทลายของหน้าดิน ดินถล่มอันเกิดจากลักษณะของต้นยางที่มีรากสั้นไม่สามารถยึดดินได้ในระยะยาว จึงทำให้เกิดปัญหาดินถล่มบ่อยครั้ง ทั้งนี้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราในเชิงเกษตรพันธสัญญาซึ่งเน้นคุณภาพของผลผลิตโดยกลุ่มนักลงทุน ซึ่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นต้นทุนทางสังคม ตลอดจนความเสียหายต่อชีวิตชาวสวนยาง ดังนั้นต้นทุนการปลูกยางพาราไม่เพียงเฉพาะค่ายา ค่าปุ๋ย ต้องคำนึงถึงค่าความเสื่อมโทรมของดิน ความเสียหายของสิ่งแวดล้อมด้วย หากมีการพิจารณาความเหมาะสมการลงทุน ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ในการควบคุมจะสามารถหาระดับผลผลิตของยางพาราที่ไม่ก่อต้นทุนทางสังคมในอนาคตได้

References

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ในหลวงรับสั่งแนวทางแก้ปัญหาดินถล่ม. ค้นจาก http://dmr.go.th.

จุรีพร จอมวุฒิ. (2552). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราในพื้นที่จังหวัดเชียงราย. การศึกษา ค้นคว้าอิสระ (บริหารธุรกิจบัณฑิต), มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย. (2545). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2556). ยางพารา: พืชเศรษฐกิจใหม่ของ สปป.ลาว.

ค้นจาก http://exim.go.th/doc/research/targetd.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). เครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปี 2551-2555.

ค้นจาก http://www2.bot.or.th/statistics/reportpage.aspx.

ประชาไท. (2558). ชาวสวนยางพาราอีสาน (2) : ปัญหาภายใต้ระบบการสะสมทุนอย่างยืดหยุ่น.

ค้นจาก www.prachatai.com/journal/2013/06/47411

ประพิมพ์ วรรณสม. (2543). ต้นทุนทางสังคมของการใช้สารเคมีอันตรายในการผลิตพืชผัก: ค่าใช้จ่าย

ด้านสุขภาพของเกษตรกร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผู้จัดการออนไลน์. (2554, กรกฎาคม 31). แนะเร่งแก้ปัญหาดินถล่มก่อนปลูกยางบนพื้นที่สูง. ค้นจาก

www2.manager.co.th.

ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). ทรัพยากรดิน

และการใช้ที่ดิน. ค้นจาก thaienvimonitor.net

เรณู สุขารมณ์. (2550). เอกสารประกอบการสอน EC356 เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนริทรวิโรฒ.

วัฒนา สุวรรณ แสง จั่นเจริญ และสมบูรณ์ ศุภศิลป์. (2551). เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร อัศวิลานนท์. (2540). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: หลักและทฤษฎี.

กรุงเทพฯ เลิศชัยการพิมพ์.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2555. ค้นจาก http://oae.go.th.

ส่วนพัฒนาความร่วมมือภาคเอกชนและกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2554).

การทำการเกษตรแบบมีสัญญา (contract farming). ค้นจาก http://jpp.moi.go.th.

Anderson, N., Palha da Sousa, C., & Paredes, S. (1995). Social cost of land mines in four countries:

Afkanistan, Bosnia, Combodia and Mozambique. BMJ: British Medical Journal (International Edition). 311, 718-721

McConnell, C., Brue, S., & Flynn, S. (2011). Microeconomics principles, problems, and policies. New York:

McGraw-Hill Irwin.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย