สภาพการดำเนินงานและสมรรถนะของการจัดการสถานีโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล
Keywords:
สมรรถนะ, การจัดการ, สถานีโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลAbstract
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการสถานีโทรทัศน์ประเภทฟรีทีวีในยุคทีวีดิจิทัลของประเทศไทยซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าและกระบวนการกับผลลัพธ์ของการจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสถานีโทรทัศน์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 399 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การอธิบาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และปัจจัยกดดัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t, ค่า F และค่า R2 ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมภายในทุกด้านได้แก่โครงสร้างองค์กร วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร และการผลิตเนื้อหารายการ มีความเหมาะสมในระดับมาก สภาพแวดล้อมภายนอกทั้งในด้านนโยบายและกฎหมายทั่วไป หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการให้บริการ ส่วนหนึ่งก่อให้เกิดโอกาสในขณะที่ส่วนหนึ่งก่อให้เกิดปัจจัยกดดันในการจัดการของสถานีโทรทัศน์และพบว่าการประกอบการของสถานีโทรทัศน์มีการแข่งขันกันสูงมาก การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ด้านการจัดการในทุกด้านอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติยกเว้นด้านความสามารถในการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลในสังคมและความสำเร็จขององค์กรที่มีอย่างต่อเนื่อง
References
กสทช. (2555). กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประเทศไทย. ค้นจาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/document/tv/file/executivesummary1.pdf
จิตตานันท์ ทองทับ. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบการจัดการสื่อสารของเครือข่ายสังคมประเภทความรู้.
ค้นจาก http://ทีวีดิจิทัล.ไทย
พิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2551). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก Ireland.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีครีนครินทร
วิโรฒ.
วิจารณ์ พานิช. (2550). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
Barney, J. B. (1994). Strategic factor markets: Expectations, luck and business strategy, Management science,
(10), pp. 1231–1241.
Edward, W. (2005). Designing high performance organization. Retrieved from http://unpan1.un.org /intradoc/groups/public/documents/UN/UNPAN001316.pdf.
Malcolm, B., & Aidan, W. (2008). Setting strategic direction: a top down or bottom up process.
Business Strategy Series, 5-11.