ประเมินโครงการโรงเรียนในฝัน โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Authors

  • ภาณุมาศ เฉลยนาค

Keywords:

โรงเรียนในฝัน, โรงเรียนชุมชนวัดเสด็จฯ, การประเมิน

Abstract

การประเมินโครงการนี้ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบ CIPP Model  โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ  (2)  เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมและความพอเพียงด้านทรัพยากรทางการศึกษา (3)  เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับ การวางแผน การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน และการปรับปรุงแก้ไข   และ (4)  เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนในฝัน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 18 คน คัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงกับโครงการ เป็นผู้ตัดสินใจในทุกขั้นตอนของโครงการและคณะกรรมการตรวจเยี่ยมโครงการโรงเรียนในฝัน ปีการศึกษา 2553 จำนวน  5 คน เครื่องมือในการประเมินเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ผลการวิจัย พบว่าโครงการของโรงเรียนชุมชนวัดเสด็จสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้  ได้คะแนน 97.00 จาก 100  คะแนน เมื่อพิจารณาประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่าทุกประเด็นทุกตัวชี้วัดของการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามประเด็นการประเมินได้ดังนี้  ด้านผลผลิต (93.73%)  รองลงมาคือ  ด้านกระบวนการ (92.80 %) ด้านปัจจัยนำเข้า (92.45 %) และด้านสภาวะแวดล้อม  (91.27 %)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). โรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546 ). โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เกษร มาลาหอม. (2548). การประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฎิรูปการเรียนรู้ของครูแกนนำ ปฎิรูปการเรียนรู้ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี.ครุศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและประเมินผล การศึกษา, มหาวิทยาราชภัฏอุบลราชธานี.

ชาติชาตรี ธรรมโหร. (2550). บทบาทด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลยุ้งทะทาย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เทพฤทธิ์ จิตรจักร. (2548). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี (งานเกษตร) ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การขยายพันธุ์ต้นกล้ายางพาราด้วยวิธีการติดตา กรณีโรงเรียนบ้านถ้ำ เจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคายเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น.

ทองดูลย์ งามแก้ม. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ธวัชชัย บำรุงยศ. (2545). การจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา สบเมย วิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาเชียงใหม่.

ธวัชพงษ์ แสนอินทร์อำนาจ. (2545). ประสิทธิผลของกระบวนการวางแผนพัฒนาตำบล: กรณีศึกษาองค์การ บริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดเลย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฎเลย.

นิรมล แก้วธวัชวิเศษ. (2551). การเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตรขั้นพื้นฐานของบุคลากรกลุ่มโรงเรียน

การกุศลของ วัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

นงเยาว์ ศักดาศักดิ์. (2548). ศึกษาระบบบริหารจัดการการเงินนอกงบประมาณในสถานศึกษาขนาดเล็ก.

ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2547). นโยบายและการวางแผน:หลักการและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:

เนติการพิมพ์.

ภาวนา ศศิฤกษ์. (2546). การจัดการทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์. ปริญญานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภัคพร บุญเคล้า. (2555). ยุทธวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

ในเขตตรวจราชการที่ 13. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลีรัฐ สมภาร. (2550). การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง สมุนไพร โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านทรัพย์ สมบูรณ์ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณฑา สอนนนฐี. (2547). การจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูป โรงเรียน บ้านป่าสัก อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน.

ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิเชียร เวลาดี. (2547). การนำเสนอรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่ การศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏระนครศรีอยุธยา.

สมศักดิ์ กรอบสูงเนิน. (2552). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุรศักดิ์ พันธุ์สง่า. (2550). การศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในกระบวนการวางแผน

พัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ปริญญานิพนธครุศาสตร

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย