ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานประกอบการ

Authors

  • อนุกูล ปิลวาสน์

Keywords:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, การท่องเที่ยวและบริการ, สถานประกอบการ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และ(2) เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารตลอดจนผู้เกี่ยวข้องใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์การในรูปแบบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ประชากรการวิจัย คือ พนักงานที่ทำงานกับสถานประกอบการท่องเที่ยวและบริการที่มีรายชื่ออยู่ในสมาคมประกอบการท่องเที่ยวไทยระหว่างประเทศทั้งหมด จำนวน 228 ราย การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรจากยามาเน่ และเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 145 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัย พบว่า (1) ด้านความคิดเห็นต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งด้านการแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการถ่ายทอดข้อมูลเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อในแต่ละด้าน พบว่า ทุกข้อในแต่ละด้าน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) เพศ อายุกับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ความคิดเห็นการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน และจำนวนครั้งการเข้าร่วมอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาตนเอง กับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ความคิดเห็นต่อการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในแต่ละด้าน และภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กมลรัตน์ วัชรินทร์. (2556). องค์กรแห่งการเรียนรู้. ค้นจาก http%3A%2F%2Fdmsc2.dmsc.moph.go.th

กาญจนา สุขทวี. (2553). การศึกษาความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร สังกัดกองกลาง สำนักราชเลขาธิการ. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์การ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.

จันทิมา คีรีวรรณ. (2550). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุติมา ชุติชิวานันท์. (2554). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. ประมวลวิชาปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐกานต์ นาคนัตถ์. (2555). ปัจจัยที่สนับสนุนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS ครอบคลุมทุกเวอร์ชั่น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นันทวิชญ์ ฉัตรบรรยงค์. (2555). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑล ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2(1), 54-66.

นุช อนิวรรตน์. (2551). การศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังของการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล (สวป.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน. (2557). การจัดการความรู้. ค้นจาก http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

พีรภัทร บุษประเวศ. (2555). ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน: การเปิดเสรีภาคบริการอาเซียน. กรุงเทพฯ: กรมสารนิเทศ.

มานิต ปัญญวรรณศิริ. (2550). การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยระหว่างประเทศ. (2549). รายงานประจำปี 2549. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย