ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ: กรณีศึกษาร้านนำทองชัย อะไหล่รถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Keywords:
ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค, ความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ, ร้านอะไหล่รถยนต์Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการของลูกค้าร้านนำทองชัย อะไหล่รถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการของลูกค้าร้านนำทองชัย อะไหล่รถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้ามาใช้บริการร้านนำทองชัย อะไหล่รถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 220 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคและความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ พบว่า ด้านความต้องการของผู้บริโภค ด้านต้นทุนของผู้บริโภค ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (2) ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ พบว่า ด้านความต้องการของผู้บริโภค และด้านการสื่อสารมีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านต้นทุนของผู้บริโภค และด้านความสะดวกในการซื้อมีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมการขนส่งทางบก. (2556). รายงานสถิติการขนส่ง ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: กองแผนงานกลุ่มสถิติการขนส่ง.
ด่านศุลกากรช่องเม็ก. (2556). สถิติรถสินค้า, บุคคลคนเข้าออกของปีงบประมาณ 2556. ค้นจาก http://www.chongmekcustoms.com/default.asp?content=contentcategory&id=3812.
บุริม โอทกานนท์. (2555). 4C’s การตลาดปฏิวัติ. ค้นจาก http://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/attachments /524_4C%20Maketing.pdf.
ประสานพงษ์ หาเรือนชีพ. (2543). งานบำรุงรักษารถยนต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา รัตนาวดี ขอนตะวัน และฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์. (2551). การผลิตกำลังคนสาขาพยาบาล ศาสตร์และผดุงครรภ์ของสถาบันการศึกษาพยาบาลในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 23(4), 41.
พักตร์วิมล กลสรร. (2551). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing litany; Four Ps passe; C-words take over. Advertising Age, 61(41), 26.
Parasuraman, Zeithaml & Berry,L. (1988). SERVQUAL, A multiple – item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64, 12-40.