รูปแบบการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีสู่คุณภาพตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Authors

  • ทรงเกียรติ พืชมงคล

Keywords:

รูปแบบ, การจัดการ, ดิจิทัลเทคโนโลยี, จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาสภาพรูปแบบการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยี (2) สร้างรูปแบบและ (3) ประเมินความเหมาะสมของการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยี ประชากรได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้  100 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ ครู  5,053 คน กลุ่มตัวอย่าง 357 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการประชุมสนทนากลุ่ม  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีสู่คุณภาพตามมาตรฐานสากลทั้งกระบวนการบริหาร การบริหารงานในโรงเรียนและครู บุคลากรทางการศึกษามีทักษะในการใช้ดิจิทัล ระดับมาก (2) รูปแบบการจัดการดิจิทัลเทคโนโลยี มีองค์ประกอบที่ 1 การจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน ได้แก่ ขั้นการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ขั้นการพัฒนาระบบคุณภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์ประกอบที่ 2 การจัดการดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ได้แก่ ขั้นการใช้กลุ่มพื้นฐานสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นการใช้กับสาระสากล และขั้นการพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยี และ (3) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยพิจารณาถึงความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน พุทธศักราช 2553. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ชุมนุม.

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิดานันท์ มลิทอง.(2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2547). หลักการจัดการและองค์การและการจัดการแนวคิดการบริหารธุรกิจในสถานการณ์

ปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์วิภา เทศวิศาล. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อ

การศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับ

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1).

ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. (2540). การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม

บุษดี พนมภู. (2556). การปรับตัวของคนข่าวในยุคออนไลน์: ศึกษาเฉพาะกรณี หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. วารสาร

รังสิตสารสนเทศ.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2549). กรณีศึกษากระบวนการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน. กรงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิศ ภู่ศิริ. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการถานศึกษา.หน่วยที่ 13 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธงชัย สันติวงษ์. (2545). การจัดการ. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิค.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหาร หลักการ ทฤษฏี และประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). การเรียนรู้ดิจิทัลเทคโนโลยีโรงเรียนมาตรฐานสากล.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อุทุมพร จามรมาน. (2547). การตีค่าความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.

กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

Bardo & Harman.B,M. (1982). .Leadership and performance beyound expectations.

NewYork: The Free Press.

Cleland & King D. I. (1983). System analysis and project management. Tokyo: Kosaido Printing.

Husen, T. N &. Postleth, W. (1994). Self-directed learning. In T. The international encyclopedia of education

(second edition). Oxford: Pergamon Press.

Jonassen, D. H. (1991). Objectivism:Constructivism: Do we need a new philosophical Paradigm?.ETRD

,3(1991), 5-14.

Umbach, P. D., & Wawrzynski, M. R. (1998). Faculty do matter: The role of college faculty in student learning

and engagement. Paper presented at the Association for Institutional Research. San Francisco:

Jossey-Bass.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย