แนวทางและหลักเกณฑ์การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก

Authors

  • นิฤมน รัตนะรัต

Keywords:

การเยียวยา, ความเสียหาย, ความรุนแรงทางการเมือง

Abstract

เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะสาเหตุของความขัดแย้งกันทางด้านนโยบายทางการเมือง การชุมนุมถือเป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายทางการเมืองของรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดสิทธิการชุมนุมไว้ในมาตรา 63 โดยกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และรัฐจะจำกัดสิทธิดังกล่าวไม่ได้ เว้นแต่จำกัดโดยกฎหมาย และเมื่อการชุมนุมดังกล่าวละเมิดหลักเกณฑ์แห่งกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดโดยฝ่ายรัฐบาลหรือละเมิดโดยฝ่ายผู้ชุมนุมแล้ว ย่อมอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เสรีภาพของประชาชน เมื่อพิจารณาถึงการรับรองสิทธิของผู้ชุมนุมทางการเมืองที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองซึ่งในกรณีนี้ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับสิทธิการเยียวยาความเสียหายของผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีความรุนแรงทางการเมืองไว้โดยตรงคงอาศัยแต่เพียงมติคณะรัฐมนตรีและอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายโดยเทียบเคียงจากพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พุทธศักราช 2545 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการรับรองสิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดอาญา โดยถือเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายเป็นการทั่วไปอันเนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญา (fault-liability) มิใช่เป็นการคุ้มครองสิทธิสำหรับผู้ได้รับความเสียหายจากกรณีความรุนแรงทางการเมืองเป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงศึกษาแนวทางและหลักเกณฑ์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง ในลักษณะเยียวยาผู้เสียหายให้ได้รับการเยียวยาและบรรเทาความเสียหายให้กลับสู่สภาพเดิมได้มากที่สุดและคุ้มครองสิทธิได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

References

กิตติพงศ์ กิตติยารักษ์. (2555). เรียนรู้-ยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน-เปลี่ยนความขัดแย้ง-สู่สังคมปรองดอง. ค้นเมื่อวันที่ 22

กุมภาพันธ์ 2555จาก http://www.kittipongforjustice.com/article/79-.html.

Cited in George E. Berkley. (1969). The Democratic policeman. Boston: BeaconPress.

International Commission of Jurists. (2012). สิทธิที่จะได้รับการเยียวยาและชดใช้ความเสียหายจาก การละเมิดสิทธิ มนุษยชนอย่างรุนแรง และกว้างขวาง. กรุงเทพฯ: ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก.

Shaplan, J., Willmore, J., & Duff, P. (1985). Victims in the criminal justice system. Brookfield: Gower Publishing Company.

Lea, J., & Young, J. (1984). What is to be done about law and order?. New York: Penguin Books.

Greiff, P. (2012). Addressing the Past: Reparations for gross human rights abuses.

Retrieved from http://www.yale .edu/glc/justice/degreff.pdf

Mcewin, R. I. (2012). No-fault compensation systems. Retrieved from http://encyclo.findlaw.com/3600book.pdf.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย