การจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Authors

  • อุมาพร ทรงประดิษฐ

Keywords:

การจัดการศึกษาปฐมวัย, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับ การจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครนายก (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครนายก จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครนายก จำนวน 180 คน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้การทดสอบของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครนายกในภาพรวม พบว่า การจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในระดับมากและรายด้านที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ คือ การบริหารบุคคลมีค่าเฉลี่ยมาก รองลงมา คือ ด้านงบประมาณด้านวิชาการและด้านบริหารงานทั่วไป ตามลำดับ ทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครนายก เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า เพศ เท่านั้นที่มีความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครนายก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาเพศหญิงมีความคิดเห็นด้วยกับการจัดการศึกษาปฐมวัยมากกว่าเพศชาย

References

คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงาน. (2552). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2542. ค้นจาก http: www. Thailocaladmin . go.th / upload / regulation / typel / 2552/5/296_ 1. pdf

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

นันทิชา ชาญหัตถกิจ. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบระดับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ยุทธ ไกยวรรณ์ . (2545). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย . กรุงเทพมหานคร: เอพี กราฟฟิกส์ ดีไซน์.

รุ่ง แก้วแดง (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มติชน จำกัด (มหาชน) .

เรขา รีวิชัย. (2556). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี,วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย EAU Heritage, 3(1), 187-197.

สัมฤทธิ์ เนตรประไพ. (2548). ความคิดเห็นของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในการบริหารจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Seefeldt, C. & Barbour, N. (1986). Early childhood education: An Introduction . Prmary Grades. Boston: Allyn Bacon.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย