การบริหารการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

Authors

  • อภิชาติ คัมภีรศาสตร์

Keywords:

การบริหาร, กระบวนการเรียนรู้, โครงการพระราชดำริ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 6

Abstract

บทความนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการ (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการและ (3) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 23 คน และการวิจัยเชิงปริมาณผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ประชากรที่เป็น กลุ่มครู จำนวน 50 คน และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 150 คน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของการวิเคราะห์ข้อมูลของ Miles and Huberman และการวิเคราะห์ขอมูลโดยใช้วิธีบรรยายแบบความเรียงและวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใชค่า สถิติพรรณนา เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างและการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่พัฒนามาจากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) การบริหารจัดการ ประกอบด้วย แนวคิดและหลักการของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หลักการสร้างชาติสร้างแผ่นดิน การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการ (2)  ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการ พบว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ผู้เรียน และกระบวนการบริหารการศึกษา ขาดการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนที่เหมาะสม (3)  รูปแบบการบริหารการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบในกระบวนการหลัก คือ (1) การบริหาร (2) การสร้างชาติสร้าง (3) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ (4) องค์การแห่งการเรียนรู้

References

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Canadian International Development Agency. (2001). Results based management in CIDA : An introductory

guide to concept and principles. Retrieved from http://www.acdi-cida.gc.ca/cida_ind.nsf.

Denzin & Y. S. Lincoln. Handbook of Qualitative Research. Thousand Oaks, CA: Sage.

Gulick, H. L., & Urwick, F. L. (1937). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Gulick, L. (1937). Notes on the Theory of Organization. In Gulick, L., & Urwick, L.F. (eds). Papers on the

Science of Administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University.

Huberman, A. M., & Mile, M. B. (1994). Data management and analysis methods. In N.K.

Karl, D. (1963). Nation-building and national development: Some issues for political research, in Atherton Nation building, 7–8.

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: A systems approach to quantum improvement and

global success. New York: McGraw-Hill.

Peter, F. D. (1954). The Practice of management. New York: Harper& Row.

Walsham, G. (2001). Knowledge management systems. Judge institute of management, Cambridge University, UK.

Downloads

Published

2015-08-31

Issue

Section

บทความวิจัย