การเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์การของเพศหญิง: ความเป็นไปได้ที่ไม่แตกต่าง
Keywords:
ผู้นำองค์การ, ผู้นำหญิงAbstract
ผู้หญิงได้รับการยอมรับในสถานภาพและบทบาทมากขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ขัดแย้งกับทัศนคติและความเชื่อดั้งเดิมในสังคมที่ว่า เพศชายเป็นช้างเท้าหน้า เป็นผู้นำ ต้องปกป้อง อดทน เข้มแข็ง ขณะที่เพศหญิงอ่อนแอ ต้องการการดูแลและปกป้อง แต่ด้วยความเป็นจริงที่ว่า เพศชายและเพศหญิงมีขั้นตอนการพัฒนาการจากจุดเริ่มต้นและก้าวเดินไปเหมือนกันตามพัฒนาการของมนุษย์แต่ด้วยบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้นของเพศหญิงก่อให้เกิดคำถามว่า การเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์การของผู้นำหญิงเกิดขึ้นเพราะโชคชะตาหรือความสามารถของตนเอง ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษเห็นว่า การเข้าสู่ตำแหน่งและการทำหน้าที่ผู้นำองค์การของผู้นำหญิงนั้นเป็นไปได้ และไม่แตกต่างกับผู้นำชาย โดยเงื่อนไขสำคัญของการเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำองค์การของผู้นำไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม ได้แก่สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างอำนาจเดิม ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจใหม่และการทำให้อำนาจแบบความสามารถพิเศษกลายเป็นสถาบันนั่นคือ ผู้หญิงหรือผู้ชายสามารถสร้างและพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพและความสามารถพิเศษย่อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำหรือผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ได้เท่าเทียมกัน
References
ธีรพัฒน์ อังศุชวาล. (2554). ความไม่เท่าเทียมทางเพศในการบริหารรัฐกิจ.ค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1542
ประวิตร โหรา. (2551). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารหญิงตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การอุดมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ. (2554). สุดยอดผู้นำหญิง (คนแรก) ทั่วโลก. กรุงเทพมหานคร: ก้าวแรก พับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ความเท่าเทียมทางเพศและบทบาทสตรี ปี พ.ศ. 2533-2551. ค้นจาก http://social.nesdb.go.th/SocialStat/StatReport_Final.aspx?reportid=277 &template =2R1C&yeartype=M&subcatid=49
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Conger, J. A. & Kanungo, R. N. (1988). Charismatic leadership: The elusive factor in organizational effectiveness. San Francisco, California: Josses–Bass.
Conger, J. A. & Kanungo, R. N. (1998). Charismatic leadership in organizations. Thousand Oaks, CA: Sage.
Dow, T. E. (1969). Theory of charisma. Social Quarterly 10, 306-318.
McGregor, J. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Muchinsky, P. M. (2003). Psychology applied to work: An introduction to industrial and organizational psychology. (7th ed.). North Carolina: Thomson Wadsworth.
Robbins, S. P. & Coulter, M. (2003). Management. New Jersey: Pearson Education.
Trice, H. M. & Beyer, J. M. (1986). Charisma and its routinizationin: Two social movement organizations. Research in Organizational Behavior. 8, 113-164.
Willner, A. R. (1984). The spellbinders: charismatic political leadership. New Haven, CT: Yale University Press.
Zaleznik, A. & Kets de Vries, M. (1975). Power and the corporate mind. Boston, MA: Houghton Mifflin.
World Economic Forum. (2014). The global gender gap index 2014. ค้นจาก http://reports.weforum.org/global-gender-gap-report-2014/economies/#economy=THA