การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2

Authors

  • กรณิกา คุ้นกลาง
  • สุวัฒน์ เงินฉ่ำ

Keywords:

การจัดระบบสารสนเทศ, การประกันคุณภาพ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา    ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยคือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 2 จำนวน 62 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที (t-test) และทดสอบเอฟ ( F-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สถานศึกษามีการปฏิบัติงานการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การรายงานข้อมูลสารสนเทศ การตรวจสอบข้อมูล การจัดระบบสารสนเทศ การนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลหรือการวิเคราะห์ข้อมูล  และการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของข้อมูลตามมาตรฐานการศึกษา (2) จัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามตำแหน่งของผู้ตอบแบบสอบถามและขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติงานแตกต่างกัน  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กฎกระทรวง. (2553). ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชน

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ พราวศรี. (2544). การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกัน

คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

กมลพรรณ กันทะทิพย์. (2553). การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนบ้านกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทร์พร เสงี่ยมพักตร์. (2549). การจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษาในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้า แบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินดาวรรณ คะสีทอง. (2549). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศของ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. สำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเศรษฐ์ ไชยสุภา. (2549). การดำเนินการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการประเมินภายนอก

ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เทพฤทธิ์ วรรณมะกอก. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศปัญหาและข้อเสนอแนะในการ

ดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนในเครือข่ายสามัคคี อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทนา บริรักษ์. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพทาง

การศึกษาอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นัทธพงศ์ วงศ์ประสิทธิ์. (2549). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครลำปาง.

การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). การประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงาน

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2554). การประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงาน

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สริต วิจิตรโชติ. (2550). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุชีรา จินดาวงศ์. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม จังหวัดพะเยา.

การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Published

2016-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย