ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักบินกองทัพอากาศ

Authors

  • ธนากร เอี่ยมปาน

Keywords:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, นักบิน, กองทัพอากาศ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักบินกองทัพอากาศ และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักบินกองทัพอากาศ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักบินกองทัพอากาศ จำนวน 242 คน เลือกมาแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า (1) นักบินมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) นักบินมีบุคลิกภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้าน คือ บุคลิกภาพแบบแสดงออก บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และบุคลิกภาพแบบมีสติอยู่ในระดับมาก แต่บุคลิกภาพแบบยอมรับผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง (3) การบริหารจัดการทรัพยากรภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้าน คือ การบริหารทรัพยากรบุคคล และการบริหารเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมาก แต่การบริหารงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง (4) บรรยากาศขององค์กร และการจัดกระบวนการทำงานขององค์กรภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (5) ปัจจัยที่พยากรณ์เชิงบวกภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักบินกองทัพอากาศ คือ วัฒนธรรมองค์กร บุคลิกภาพแบบมีสติ การจัดส่วนระบบขั้นตอนปฏิบัติขององค์กร การจัดส่วนปฏิบัติการขององค์กร บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง แต่ปัจจัยที่พยากรณ์เชิงลบ คือ นโยบายองค์กร สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานมีได้ดังนี้

               (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) =  0.429 + 0.309 (วัฒนธรรมองค์กร ) + 0.287 (บุคลิกภาพแบบมีสติ ) + 0.163 (การจัดส่วนระบบขั้นตอนปฏิบัติขององค์กร ) + 0.197 (การจัดส่วนปฏิบัติการขององค์กร)  – 0.182 (นโยบายองค์กร ) + 0.127 (บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง)  (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง)  =  0.329 (วัฒนธรรมองค์กร ) + 0.326 (บุคลิกภาพแบบมีสติ ) + 0.190 (การจัดส่วนระบบขั้นตอนปฏิบัติขององค์กร ) + 0.218 (การจัดส่วนปฏิบัติการขององค์กร)
 – 0.196 (นโยบายองค์กร ) + 0.097 (บุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง )

References

กองทัพอากาศ. (2556). นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองทัพอากาศ.

กัลยานี พรมทอง. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารใน วิทยาลัยพลศึกษา. ปริญญานิพนธ์การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัชญานุช สุดชาดี. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลาง ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทศพร บรรจง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ของนักเรียนมัธยมศึกษาปี ที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นุชา สระสม. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ของ สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิรันดร์ ตันจ้อย. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำ และผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2549). อิทธิพลของลักษณะขององค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานสภาพแวดล้อมการ ทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การ ที่มีต่อ ประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูป การศึกษาแบบยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรเชษฐ์ สุทธิเสงี่ยม. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับการประยุกต์ใช้ระบบการบริหาร แบบซิกส์ซิกม่า. วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานนิรภัยทหารอากาศ . (2553). การบริหารทรัพยากรการบิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กองทัพอากาศ

Downloads

Published

2015-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย