การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของผู้เรียน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
Keywords:
ความสุข, ความสุขมวลรวมของผู้เรียน, ปัจจัยพหุระดับAbstract
การวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ศึกษความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และศึกษาปัจจัยระดับโรงเรียน ระดับห้องเรียน และระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 64 คน ครู 96 คน และนักเรียน จำนวน 2,880 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 32 โรงเรียน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3,040 คน แบบสอบถาม นวน 3 ฉบับ ใช้สำหรับสอบถามนักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียน โดยแบบสอบถามทั้งสามฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย วิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของผู้เรียน วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของนักเรียน วิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์พหุระดับด้วยสมการถดถอย กรณี 3 ระดับ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (hierarchical linear model) ผลวิจัยพบว่า ระดับความสุขมวลรวมของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยระดับผู้เรียนและปัจจัยระดับห้องเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขมวลรวมของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยระดับผู้เรียนส่งผลต่อความสุขมวลรวมของผู้เรียน ปัจจัยระดับห้องเรียนและปัจจัยระดับโรงเรียนไม่ส่งผลต่อความสุขมวลรวมของผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะเก่ง ดี มีสุข. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
ประเวศ วะสี. (2554). ลำดับความสุข. ค้นจาก http:/www.account.co.th/ view-news.php? itemid- 1044
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2550). ภูฏาน-ไทยมิตรภาพแห่งความสุขไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2541). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์สำหรับครู ประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). การวิเคราะห์พหุระดับ = Multi – level analysis. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.