กลยุทธ์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามอุดมการณ์และนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
Keywords:
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ความเป็นพลเมืองดี, อุดมการณ์และนโยบายความมั่นคง, จังหวัดชายแดนภาคใต้, กลยุทธ์การจัดกิจกรรม, การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (2) พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีตามอุดมการณ์และนโยบายความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) กำหนดกลยุทธ์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน และ (4) ประเมินกลยุทธ์การจัดกิจกรรมพัฒนาเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร และครู โรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 830 ตัวอย่าง จากจำนวนโรงเรียน 1,011 โรงเรียนโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากำหนดกลยุทธ์การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี แล้วนำกลยุทธ์ที่ได้ไปทำการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการจัดกิจกรรมผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (2) พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสามารถทำนายพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีของนักเรียนในภาพรวมได้ (4) การประเมินกลยุทธ์ในประเด็นของความเหมาะสมความเป็นไปได้ความถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 12 คนโดยคะแนนรวมเฉลี่ยทั้งสี่ด้านเท่ากับ 9.23 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 7.3 คะแนนการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิมีความสอดคล้องกัน (W=0.716) และมีความน่าเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.914 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือ 0.90
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ พ.ศ. 2556-2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
คณะอนุกรรมการ กนป. ด้านพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี. (2553). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. 2553 – 2561 ฉบับแก้ไขตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ครั้งที่ 6 / 2553. วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรีหลังนอกทำเนียบรัฐบาล.
จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2549). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management). กรุงเทพฯ:
ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุสิต หวันเหล็ม. (2552). สังคมพหุวัฒนธรรมนครศรีธรรมราชกับมิติใหม่ของการพัฒนากรณี: สังคมพหุวัฒนธรรมอำเภอท่าศาลา. สารนครศรีธรรมราช, 37(4), 68-78.
ประสิทธิ์ รัตนมณี. (2550). วัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส). ผลงานวิจัยสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เสนอต่อ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2548). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, ดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงษ์ จิตระดับและคณะ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะระบบที่ปรึกษาให้สภาเด็กและเยาวชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2545). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ประสานมิตร.