การพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล
Keywords:
การพัฒนารูปแบบ, การบริหาร, ประสิทธิผล, มหาวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติในการบริหารมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล (2) ยกร่างรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล (3) ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล และ (4) ประเมินรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิผล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบตรวจสอบคุณภาพและแบบประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย หลักการแนวคิดของรูปแบบการบริหาร วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ระบบของรูปแบบการบริหาร และเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ รูปแบบการบริหารเป็นการบริหารเชิงระบบ ประกอบด้วย (1) ปัจจัยการบริหาร (2) กระบวนการบริหารประกอบด้วย การบริหารงานผลิตบัณฑิต การบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ การบริหารงานบริการวิชาการ การบริหารงานทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยนำกระบวนการ PDCA มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการบริหารและประสิทธิผลของการบริหารประกอบด้วย คุณภาพบัณฑิต คุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ คุณภาพการบริการวิชาการและคุณภาพการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลการตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่มีประสิทธิผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นพบว่า มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์
References
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุง เทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ปริยากร มนูเสวต. (2555). รูปแบบการบริหารงานกิจการนักศึกษาที่มีประสิทธิผล ของมหาวิทยาลัยเอกชนใน
ประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(1), 127-135.
ปิติชาย ตันปิติ. (2547). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงระบบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิกุล โกสิยานันท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มี ประสิทธิผล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 191-195.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2553). ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์ .
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). นวลักษณ์:วัฒนธรรมองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ค้นจาก http://www.goto know.org/posts/315418
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2545). การเข้าสู่ผู้บริหารมืออาชีพ. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ.
สิทธิชัย สอนสุภี. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของมหหาวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2550). อนาคตภาพที่เป็นไปได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามในทศวรรษหน้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักเกณฑ์การขออนุมัติ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การขออนุมัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี
อาภรณ์ แก่นวงศ์. ( 2554). การวิเคราะห์การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาบนแนวพื้นที่เศรษฐ กิจตะวันออก-
ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เพื่อรองรับการรวม ตัวเป็นประชา คมอาเซียนในปี 2558.
สิงหาคม พ.ศ. 2554.