ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน
Keywords:
ความย้อนแย้ง, คอร์รัปชัน, ธรรมาภิบาล, สหกรณ์ออมทรัพย์Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีมีวัตถุประสงค์การวิจัย 5 ประการคือ (1) แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลมาใช้ในการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อแก้ไขและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน (2) สภาพการบริหารและลักษณะการคอร์รัปชันของสหกรณ์ออมทรัพย์ (3) และค้นหาเหตุปัจจัยของการทุจริตคอร์รัปชันในสหกรณ์ออมทรัพย์ (4) การใช้หลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์ (5) ความย้อนแย้งของสหกรณ์
ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น จำนวน 2 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 32 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เคยได้รับรางวัลดีเด่นมีโอกาสในการเกิดปัญหาคอร์รัปชั่นและเป็นคดีความฟ้องร้องในศาล เนื่องจากมีการปฏิบัติการที่ซับซ้อนของการคอร์รัปชั่นและแม้มีความเชื่อเรื่องเอกภาพกับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ แต่กรรมการสหกรณ์มีลักษณะของความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ทำให้อำนาจของกรรมการสหกรณ์มีมากจึงสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินงานได้โดยอิสระ โดยภาครัฐไม่สามารถไปตรวจสอบได้ มีช่องว่างในการทำผลประโยชน์ทับซ้อน (2) สภาพการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ประกอบด้วย การใช้อำนาจ การตัดสินใจ การมีความรับผิดชอบการมีคุณธรรม (3) ความเป็นไปได้ในการเกิดคอร์รัปชั่น เนื่องจากปัจจัยภายในดังนี้ ระบบงานและบุคลากรทั้งพฤติกรรม ค่านิยม อุดมการณ์และจริยธรรม และปัจจัยภายนอก ที่ประกอบด้วย การตรวจสอบ การกำกับดูแล เศรษฐกิจ สังคม การเมืองและกฎหมาย (4) การบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า และมีการกำกับดูแลภายใต้หลักบรรษัทภิบาล สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (5) ปัญหาคอรัปชั่นจากแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองตนเองและความเป็นอิสระปราศจากการตรวจสอบจาปภาครัฐ
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2540). การสหกรณ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2557). วิธีการให้คะแนนการคัดเลือกสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ. ค้นจาก http://www.cpd.go.th/coop_good.html
ธีรยุทธ บุญมี. (2551). มิเชล ฟูโกต. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2557). ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2554). เข้าใจและเข้าถึงคอร์รัปชัน. กรุงเทพธุรกิจ, 21-23.
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาฬสินธุ์ จำกัด. (2557). รายงานประจำปี 2556. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุบลราชธานี จำกัด. (2557). รายงานประจำปี 2556. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป.
สายัณต์ ไพชาญจิตต์. (2556). แนวคิดโบราณคดีชุมชน. ค้นจาก http://www.oocities.org/thai_archaeology/thai/013
/focus1.html
อรพินท์ สพโชคชัย. (2541). การปฏิรูประบบราชการ: ยุทธศาสตร์สำคัญของการเปลี่ยนแปลง. วารสารการปฏิรูประบบราชการ: ทางออกของการแก้ปัญหาและฟันผ่าวิกฤต, 1(20),105.