ความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา

Authors

  • วรรวิศา ชื่นชม
  • สุรชัย สิกขาบัณฑิต

Keywords:

ความพร้อม, การจัดการศึกษา, องค์การบริหารส่วนตำบล

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอลำลูกกา (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอลำลูกกา จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่ ประชากรได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและพนักงานส่วนตำบล จำนวน 6 แห่ง ในเขตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 195 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ การทดสอบสมมุติฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที และทดสอบความแปรปรวนโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปด้วย ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( =4.67) (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอลำลูกกา พบว่า  ด้านการบริหารงานทั่วไปมีค่าความแปรปรวนสูงที่สุด (F = 94.44) และด้านที่มีค่าความแปรปรวนน้อยที่สุดคือด้านการบริหารงานบุคคลมีค่าความแปรปรวน (F=17.63) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้  ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพความพร้อมในภาพรวมทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อที่มีค่าความแปรปรวนสูงสุดคือด้านการบริหารงานทั่วไป มีค่าความแปรปรวน

(F=25.60) และส่วนในด้านการบริหารงานทั่วไปมีค่าความแปรปรวน (F=35.85) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

References

โกเมศ กลั่นสมจิตต์. (2545). ความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัด ภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมการปกครอง. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.

จตุพร มีณรงค์. (2548). ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรครูยอมรับการถ่ายโอนการจัดการศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2543). ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่ผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

ณรงค์ สัจพันโรจน์. (2539). การจัดทำ อนุมัติและบริหารงบประมาณแผ่นดินทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิตรการ พิมพ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2545). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วี ที ซี คอมมิวนิเคชัน.

ธงชัย สันติวงษ์. (2539). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประภาพรรณ ไชยวงษ์. (2544). การวิเคราะห์บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดการศึกษาและมี ส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราโมทย์ นวลประสงค์. ( 2552). ทัศนคติต่อการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดการศึกษาให้แก่ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาสังคมและ สิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผกาวลี พัฒนกิจ. (2548). ความพร้อมในการรับถ่ายโอนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลใน จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2538). องค์การและการจัดองค์การ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ภิรมย์ ชุมนุม. (2545). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วีระยุทธ สิงหะหล้า. (2552). ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

สโรช สันตะพันธ์.(2548). ปัญหาการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2540). กำหนดแผนและขั้นตอนการ กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

สำลี เก็งทอง. (2543). การศึกษาความพร้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตการศึกษา 5 ต่อการมีส่วนร่วมการจัด การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2544). การศึกษาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ครุสภา.

Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย