บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี
Keywords:
บทบาท, ผู้บริหารสถานศึกษา, ผลงานทางวิชาการ, ปัจจัยจูงใจ, ครูAbstract
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ระดับปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี จำนวน 2,484 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา และปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครูสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครูในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยจูงใจในการทำผลงานทางวิชาการของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี พบว่าในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี. โปรดักส์ .
ทิพมาศ แก้วซิม. (2543). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พนัส หันนาคินทร์. (2543). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. พิษณุโลก: โครงการตำรา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สายยุธ เหลากิมฮุ้ง. (2547). บทบาทของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งอาจารย์ 3 ของสถานศึกษาที่ทำการสอนในช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัด ร้อยเอ็ด. พิษณุโลก: โครงการตำรา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริลักษณ์ สุอังคะ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการท างานของครูกับประสิทธิผลของ โรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเขต พื้นที่พัฒนา ชายฝั่งทะเล ตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2528). สำนักงานประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (2556). แนวทางการปฏิรูปการศึกษา. ปทุมธานี: ผู้แต่ง.
อุดม ธาระณะ. (2553). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรุณ รักธรรม. (2533). มนุษยสัมพันธ์กับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์.