ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของข้าราชการกองทัพอากาศ
Keywords:
การพัฒนาทุนมนุษย์, กองทัพอากาศไทย, สมรรถนะ, สำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของข้าราชการกองทัพอากาศที่สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (2) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ และ (4) ข้อเสนอแนะการพัฒนาทุนมนุษย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างเป็นข้าราชการกองทัพอากาศ 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม 4 กลุ่ม คัดเลือกจากข้าราชการกองทัพอากาศตั้งแต่ระดับปฏิบัติถึงระดับสูงและกลุ่มบริหารงานยุติธรรม สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูง 5 คน ผลการวิจัยพบว่า
(1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าการปฏิบัติอยู่ในระดับ
ปานกลาง ( =3.48, SD=0.69) เรียงตามลำดับ คือ ด้านการพัฒนาสมรรถนะทุนมนุษย์ ด้านผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และด้านการสร้างมโนทัศน์ระดับมาก ด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบกระบวนการยุติธรรมและโครงสร้างกฎหมาย ด้านการศึกษาอบรม ด้านความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ด้านสิทธิมนุษยชน และการตระหนักรู้สู่อาเซียน (2) ระดับความสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าอยู่ในระดับกลาง ( =3.51, SD= 0.58) โดยด้านทุนทางปัญญาอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ทุนทางสังคม และทุนทางอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ พบว่า ตัวแปรต้นทุกตัวมีผลต่อตัวแปรตามโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 95.40 เรียงลำดับความสำคัญได้โดยสมการพยากรณ์ Y = 0.160 + 0.258 (X1)+ 0.129 (X4)+ 0.172 (X8)+ 0.147 (X2)+ 0.146 (X3)+ 0.096 (X5)+ 0.093 (X6) - 0.069(X7)
References
จรัสศรี จินดารัตนวงศ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงาน ของวิทยาลัยพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผล การปฏิบัติงานของบุคลากร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนัย เทียนพุฒ. (2545). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: นาโกต้า.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เจริญผล.
พิพัฒน์ ก้องกิจกุล. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ:
เจริญผล.
วีระ โลจายะ. (2525). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.