แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดนครสวรรค์

Authors

  • อนุรัตน์ สงขำ

Keywords:

การจัดการ, แหล่งเรียนรู้, ศูนย์การศึกษานอกระบบ, จังหวัดนครสวรรค์

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและนำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ของ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน พนักงานราชการ จำนวน 40 คน ครูศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 170 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 345 คน ซึ่งได้ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง .67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89  วิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน การนำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้  โดยการจัดประชุมกระบวนการสนทนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ประกอบด้วย ด้านการวางแผน คือ สร้างความเข้าใจร่วมกับผู้นำชุมชน และแต่งตั้งคณะกรรมการแหล่งเรียนรู้ให้ชัดเจน ด้านการจัดการองค์กร คือ กำหนดให้แหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งดำเนินการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การจัดทำงบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการ ด้านการอำนวยการ คือ สร้างความเข้าใจร่วมกับชุมชน องค์กรท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ด้านการควบคุม คือ แต่งตั้งคณะกรรมการแหล่งเรียนรู้โดยให้ชุมชน และกำหนดให้นำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณ

References

ธีรนารถ ธัมมนทีธนัฌชนนท์. (2549). สภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติของโรงเรียนในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัครภรณ์ มานิตย์. (2550). การจัดการแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มโรงเรียนโป่งสา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าอิสระ

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินัย ไพยารมณ์. (2547). การจัดการแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกิ่งอำเภอดอยหล่อจังหวัดเชียงใหม่.

การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, สุภา เสรีรัตน์ และองอาจ ปทะวานิช. (2545). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สายสุนีย์ แสงเขื่อนแก้ว. (2547). การบริหารแหล่งเรียนรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา

ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). คู่มือการสรรหาและคัดเลือกสังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2553). คู่มือการดำเนินงาน กศน.ตำบล

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานการฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2552). เอกสารสารระหลักการและแนวคิด

ประกอบการดำเนินงาน กศน.: คัมภีร์ กศน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์. (2552). สรุปรายงาน

การประชุมผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษา ปีงบประมาณ 2552. นครสวรรค์: ผู้แต่ง.

Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

บทความวิจัย