การเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าระหว่างรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสันกับยี่ห้อซูซูกิ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร Comparison of Brand Image Perception of Ecology Cars (Eco Car) Between Nissan Brand and Susuzi Brand of Consumers in

Authors

  • สุภาวี เผือกเชาไวย์

Keywords:

รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์), การรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้า

Abstract

การวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าระหว่างรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสันกับยี่ห้อซูซูกิ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสัน และกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อซูซูกิ  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาด้วย  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วย Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสัน เป็นเพศหญิง อายุ 30 - 39 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 25,000 บาท  (2) ผู้ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อซูซูกิ เป็นเพศชาย อายุ 20 - 29 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 - 25,000 บาท  (3) ผู้บริโภคที่ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสันและยี่ห้อซูซูกิ มีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าในด้านคุณสมบัติตราสินค้า ด้านคุณประโยชน์ตราสินค้า ด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านบุคลิกภาพของผู้ใช้ และด้านบุคลิกภาพของตราสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) การทดสอบสมมติฐาน พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคมีการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้ารถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสันและยี่ห้อซูซูกิแตกต่างกันในทุกด้าน ยกเว้นรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ใช้รถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ยี่ห้อนิสสัน ที่มีการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าไม่แตกต่างกัน

References

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: The Free press.

Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: The Free press.

Amornprasertchai, S. (2012). Attitude and satisfaction relating tendency of repeated purchase on eco car in Bangkok metropolis. Master’s thesis in Business Administration, Srinakharinwirot University. (in Thai)

Assael, H. (2004). Consumer behavior: A strategic approach. Boston, MA: Houghton Mifflin.

Boulding, K. E. (1975). The image: Knowledge in life and society. Michigan: The University of Michigan.

Jaichrnsukkit, P. (2007). Corporate image. Bangkok: Than Printing. (in Thai)

Keller, K. L. (1993). Conceptualizing, measuring and managing customer-based brand equity.

Journal of marketing management.

Kunakorn, A. (2014). Environmental factors in life affecting the decision to buy an eco-car in Bangkok. Master’s thesis in Business Administration, Bangkok University. (in Thai)

Manopanon, A. (2010). Perception of brand personality by brand ambassador of nissan march (Kun Teeradech Wongpuapan). Master’s thesis in Communication Arts, University of The Thai Chamber of Commerce. (in Thai)

Srithai, N. (2007). Factors affecting consumer decision making in buying cars in phranakhon Si Ayutthaya. Master’s thesis in Business Administration, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)

Thiyarat, M. et al. (2012). The features of eco car as needed by Bangkok consumers. Master’s thesis in Business Administration, Kasetsart University. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

Issue

Section

บทความวิจัย