การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืนของจังหวัดกระบี่ตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง Sea Environmental Sustainable Management in Krabi According to the Sufficiency Economy Philosophy

Authors

  • แสงชัย วสุนธรา

Keywords:

การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, จังหวัดกระบบี่, สิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล

Abstract

บทความนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลของจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน (2) ปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการ (3) แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและ (4) รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืนของจังหวัดกระบี่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืนของจังหวัดกระบี่ จำนวน 20 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ คือ อ่าวนาง หมู่เกาะพีพี คลองม่วง-ทับแขกจำนวน 400 คน แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีบรรยายแบบความเรียง และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้ค่าสถิติพรรณนา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ (1) สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลของจังหวัดกระบี่ พบว่า  รัฐบาลให้ความสำคัญน้อยมาก ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังขาดการมีส่วนร่วม การประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลในรูปแบบต่าง ๆ น้อยมากและทุกภาคส่วนยังขาดการบูรณาการร่วมกัน (2) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า เกิดจากประเด็นหลักที่สำคัญ คือ สภาพทั่วไปทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง และปัญหาที่เกิดจากคน  (3) แนวทางการบริหารจัดการ แนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืนต้องดำเนินการตามความสำเร็จบนพื้นฐาน 4 ประการ คือ POLC (4) รูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืนของจังหวัดกระบี่ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การบริหารจัดการ แผนพัฒนาจังหวัดกระบี่ พ.ศ.2557-2560 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลรวมถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมในทะเล และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 

References

Bunya, A. (2010). The participation of the community school of excellence in small study to establish theoretical foundations. Master’s thesis in Education, KhonKaen University. (in Thai)

Chatakarn, V. (2003). The development of training courses for capacity building. Project management of basic education. Phuket Rajabhat University Journal, 10(2), 54-72. (in Thai)

Cohen, J. M. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity.

New York: Cornell University Press.

Department of Health. (2007). Muangthai strong policies. Nonthaburi: Author. (in Thai)

Fayol, H. (1949). General and industrial management. London : Sir Issac Pitman & Sons.

Higher Education Commission. (2007). A series of self-learning Set academic research community.

Bangkok: SR. printing. (in Thai)

Jarayapan, P. (2003). Guide nursery and kindergarten for oyster farming. Bangkok: Resources Research Institute, Chulalongkorn University. (in Thai)

Pattanapongsa, N. (2003). Participation basic principles, techniques and case examples. Informal education,

Chiang Mai University. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

Issue

Section

บทความวิจัย