การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา The Development of Professional Experience Model in Secretary for Vocational Students

Authors

  • เสาวณีย์ เต็งสุวรรณ์

Keywords:

สมรรถนะวิชาชีพ, การประเมินตามสภาพจริง, รูปแบบการฝึกประสบการณ์, วิชาชีพอาชีวศึกษา

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา   มี 3 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพการจัดฝึกประสบการณ์และสมรรถนะวิชาชีพเลขานุการ (2) สร้างรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการ และ (3) ทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือครูฝึก และนักศึกษา จำนวน 60 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาที่เป็นจริงอยู่ในระดับมาก และนักศึกษาควรมีสมรรถนะวิชาชีพ ด้านการพิมพ์เอกสารรูปแบบต่าง ๆ การจัดเก็บเอกสารในงานสำนักงานจัดประชุมตามลำดับขั้นตอน การใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน และบริการงานสำนักงานในระดับมาก  (1) รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษามีองค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เลขานุการ สถานศึกษา สถานประกอบการ และนักศึกษา ด้านกระบวนการ คือ การวางแผน ได้แก่ การปฐมนิเทศ การทบทวนความรู้ด้านสมรรถนะวิชาชีพ และการทบทวนการฝึกปฏิบัติตามสมรรถนะวิชาชีพ  การดำเนินงานตามแผน ได้แก่ การฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ การตรวจสอบ ได้แก่ การประเมินผลตามสภาพจริง และการปรับปรุงแก้ไข  ได้แก่  การวิเคราะห์ผลการฝึกประสบการณ์ ด้านผลผลิต คือ ความพึงพอใจของสถานประกอบการและสมรรถนะวิชาชีพเลขานุการ  รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (2) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ครูฝึกมีความพึงพอใจในระดับมาก และนักศึกษามีสมรรถนะวิชาชีพในระดับดีเยี่ยม

References

Aguirre, B. E. (1994). Collective behavior and social movement theory. Newark: University of Delaware Press.

Athima, N. (2011). Competency of secretary of Chiang Mai University administrators. Master’s thesis in Public Administration, Chiang Mai University. (in Thai)

Barlow, H. B. (1972). Single units and sensation: A neuron doctrine for perceptual psychology. Perception, 1,

-394.

Ivancevich, J. M., et al. (1989). Management: Principles and function (4th ed.). Boston,MA: Richrad D.Trwin.

Keeve, P. J. (1998). Model and model building educational research methodology and measurement: An international handbook. Oxford: PergamonPress.

Nikornsaen, S. (2011). A Development of training package for competence development of secretaries required by employers. Master’s Thesis in Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

(in Thai)

Rojvilawan, P. (2001). The participation of the enterprises in vocational education management of metropolitan vocational colleges groups under the jurisdiction of the department of vocational education. Master’s thesis in Education, Silpakorn University. (in Thai)

Ruengsawadwong, J. (2011). The competency of the secretary to the chief executive of the Thapa Tambon administrative organization, Thapa district, Songkla province. Master’s thesis in Public Administration, Khon Kaen University. (in Thai)

Phuwiphadawat, S. (2011). Teaching principles to develop learner and authentic assessment. Bangkok : Duangkamol. (in Thai)

Sopha, R. (2010). The development of the experience readiness preparation model for tourism management students. Master’s thesis in Education, Silpakorn University. (in Thai)

Sukanthachan, W. (2007). The Process of professional experience training for intern students of workplaces cooperation with vocational colleges under Nakhonsawan vocational educational office. Master’s thesis in Education. Sukhothai Thammathirat University. (in Thai)

Downloads

Published

2016-08-30

Issue

Section

บทความวิจัย