ตลาดน้ำกับการทำหน้าที่พัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

Authors

  • Ratsami Utsena มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การท่องเที่ยว, ตลาดน้ำ

Abstract

ตลาดน้ำ โดยทั่วไป มีหน้าที่เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ แต่สำหรับหน้าที่ของตลาดน้ำต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะตลาดน้ำประเภท “ตลาดจัดตั้ง” จะดำเนินหน้าที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนอย่างไร สำหรับงานวิจัยนี้ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า หน้าที่สำคัญของตลาดน้ำต่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนคือ การเป็น“แหล่งเรียนรู้ชุมชน” เป็น “ตัวกลางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และเป็น “ตัวกลางในการดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมชุมชน” โดยความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ของตลาดน้ำคลองลัดมะยมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับต้นทุนการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชน ซึ่งข้อเสนอจากการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจัยสำคัญต่อการทำหน้าที่ของตลาดน้ำเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คือ “ทุน” ทั้งทุนมนุษย์ (วิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากชุมชนอื่น) ทุนสิ่งแวดล้อม (เป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำและขยะ) ทุนทางสังคม (การดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้) ทุนกายภาพ (ช่องทางการเข้าถึงตลาดน้ำ) และทุนทางการเงิน (เงินทุนสะสม เงินทุนสำรอง เงินทุนหมุนเวียนภายใต้การทำงานของสถาบันการเงินชุมชน) ทั้งนี้ ทุนของชุมชนจะผันแปรได้ตามโครงสร้างและความเป็นชุมชน ช่วยลดภาวะความเสี่ยง หรือสร้างภูมิคุ้มกันด้านการดำรงชีพ ตลอดจนเพิ่มกระบวนการหรือกลไกในการพัฒนาภายใต้ข้อจำกัดเพื่อนำชุมชนไปสู่ความยั่งยืน

Downloads

Published

2016-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย