แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนเรื่องทักษะอาชีพผ่านสื่อโทรทัศน์ ในศตวรรษที่ 21

Authors

  • Kanyaphat Jampatong มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Autumporn Intachak มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Nalinrat Rakkusol มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ทักษะอาชีพ, ศตวรรษที่ 21, สื่อโทรทัศน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับเยาวชน ผ่านสื่อโทรทัศน์ (2)  เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความรู้ ด้านการประกอบอาชีพสำหรับเยาวชน จำนวน 5 รายการ กลุ่มประชากรในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์ ผู้อยู่เบื้องหลังในการผลิตสื่อโทรทัศน์ ครู และ อาจารย์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล แบบวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางศตวรรษ ที่ 21 เรื่องทักษะอาชีพและชีวิตประกอบด้วย 5 หัวข้อ ดังนี้ (1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (2) ความคิดริเริ่มและการกำกับตนเอง (3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (4) การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รายการกบนอกกะลามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดได้แก่ และรายการพ่อหนูเก่งที่สุดในโลก พบว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพน้อยที่สุด  แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยความยืดหยุ่นและการปรับตัว ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ เป็นทักษะชีวิตและอาชีพที่จำเป็นและสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการที่ดีบทบาทของสื่อในการพัฒนาเยาวชนเปิดพื้นที่การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมประสบการณ์จริง เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีหลักสูตรสำหรับการพัฒนาทักษะอาชีพที่สามารถเลือก หลักสูตร ได้ตามความต้องการของผู้เรียน

Downloads

Published

2016-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย