ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Keywords:
การบริหารจัดการ, ความขัดแย้ง, ความคิดเห็นAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตาม ตำแหน่ง และประสบการณ์การปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรซึ่งกำลังปฏิบัติงานอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 208 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) ได้จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาบุคลากรในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้ง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ ปานกลางทุกด้าน (2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีตำแหน่งแตกต่างกัน โดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการบังคับ ด้านสัมพันธภาพ ด้านประนีประนอม และด้านเผชิญหน้า พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการบังคับ ด้านสัมพันธภาพ ด้านประนีประนอม และด้านเผชิญหน้า พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ พบว่า โดยภาพรวมและด้านการบังคับ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการหลีกเลี่ยง พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงาน 21 ปีขึ้นไปกับ 0-10 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งแตกต่างกัน และด้านเผชิญหน้า พบว่า บุคลากรที่มีประสบการณ์ 21 ปีขึ้นไป กับ 10-20 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งแตกต่างกันDownloads
Published
2016-12-27
Issue
Section
บทความวิจัย