การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัด กลุ่มภาคกลางตอนกลาง ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Takkhaphob Ingtragul มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • Wiruch Wiruchnipawan มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลาง, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร คือ สมาชิกหอการค้าจังหวัดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลาง  5 จังหวัด จำนวน 3,407 คน  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ได้ค่าเท่ากับ 0.97 และผ่านการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางขาดความพร้อม หรือไม่มีการเตรียมการที่ดีในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมทั้งขาดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ จังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางควรมีความพร้อม หรือมีการเตรียมการที่ดีในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมมาใช้อย่างเพียงพอ และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงควรประกอบด้วย 5 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ (1) ด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม (2) ด้านการจัดตั้งแกนนำในชุมชน (3) ด้านการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ครอบคลุม และทั่วถึง (4) ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของหน่วยงานและบุคลากรต้นแบบ และ (5) ด้านการกำหนดแผนงานและกรอบเวลาที่ชัดเจน

Downloads

Published

2016-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย