ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Yonlada Wangsupakitkosol มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • Chotiras Chavanich มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ยุทธศาสตร์, การบริหารจัดการ, การส่งเสริมเกษตรกร, องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเสิงสาง

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศีกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่มต่อภาพรวมแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ และ (4) เสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประชากร คือ ประชาชนเป้าหมายทั้งหมดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ของอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา รวม 55,600 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนจำนวน 1,090 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นอกจากนี้แล้ว ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ องค์การบริหารส่วนตำบลส่งเสริมเกษตรกรให้เพิ่มพูนการเรียนรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีทางการเกษตรไม่มากเท่าที่ควร (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคือ องค์การบริหารส่วนตำบลควรส่งเสริมเกษตรกรให้เพิ่มพูนการเรียนรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีทางการเกษตรในทิศทางที่สอดคล้องกับสภาพของชุมชนมากขึ้น (3) การเปรียบเทียบความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ เพศชายกับเพศหญิง ต่อภาพรวมแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเสิงสางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ไม่แตกต่างกัน และ (4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน ควรเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ด้านคุณธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านการมีภูมิคุ้มกัน (4) ด้านความมีเหตุผล และ (5) ด้านความพอประมาณ

Downloads

Published

2016-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย