การบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • Santi Watpapub มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • Pranot Nantiyakul มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (2) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประสบความสำเร็จ และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 20 คน การสัมภาษณ์เป็นแบบตัวต่อตัวโดยใช้แบบ   สัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล 33 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวม 197,068 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน ได้มาจากการใช้สูตรกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสนาม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการคือ เทศบาลไม่ได้จัดเตรียมบุคลากรที่ปฏิบัติงานให้บริการผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอ และไม่มีการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุเมื่อเกิดภาวะวิกฤต (2) ปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุใ คือ การที่เทศบาลมีตัวแบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ คือ เทศบาลควรจัดสวัสดิการและรายได้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้บริการผู้สูงอายุ และเทศบาลควรมีการเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการกองทุนผู้สูงอายุเมื่อเกิดภาวะวิกฤต

Downloads

Published

2016-12-27

Issue

Section

บทความวิจัย