ความพร้อมเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
Keywords:
ความพร้อมเชิงกลยุทธ์, สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติAbstract
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความพร้อมเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยใช้แบบสอบถามประเมินความพร้อมเชิงกลยุทธ์ขององค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ ตามกรอบแนวคิดของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (ค่าเฉลี่ย) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบระดับความพร้อมเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมและรายมิติ ด้วยสถิติ t-test (one-sample t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยสถิติ F-test (one-way ANOVA) ผลการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากร พบว่า (1) ในภาพรวมสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติมีความพร้อมเชิงกลยุทธ์อยู่ในระดับสูง (2) ความพร้อมเชิงกลยุทธ์ มิติการแปลงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้เป็นแผนงาน/โครงการที่ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีระดับความพร้อมสูงที่สุด ส่วนมิติการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุกคนในองค์กรรับผิดชอบงานตามยุทธศาสตร์ มีระดับความพร้อมต่ำกว่าทุกมิติ และ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประเภทของบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพร้อมเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความพร้อมเชิงกลยุทธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05Downloads
Published
2016-12-27
Issue
Section
บทความวิจัย