เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชาวไทยพวนที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

Authors

  • Panyada Nadee Eastern Asia University

Keywords:

เอกลักษณ์, ชาวไทยพวน, วัฒนธรรม

Abstract

กระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยววิถีชุมชน การเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ประเทศไทยมีทรัพยากรทางวัฒนธรรมหลากหลายที่สั่งสมกันมารุ่นต่อรุ่น ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ดั้งเดิม วัฒนธรรมของชาวกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอยู่เมืองไทยตั้งแต่อดีต ซึ่งล้วนแต่มีความน่าสนใจและควรสืบสานไว้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวไทยพวน ทามีการอพยพเข้ามาจากเมืองพวนแขวงเชียงขวาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้ผู้ศึกษาสนใจศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครนายก เนื่องจากชาวไทยพวนของจังหวัดนครนายกเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง แต่วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปและกำลังสูญหาย แต่ยังคงมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้รักษาไว้ ซึ่งชาวไทยพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์หลายด้าน เช่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย ภาษา อาหาร ประเพณี โดยที่ชาวไทยพวนจะมีความเชื่อเรื่องผี และนับถือศาสนาพุทธ ทำให้วัดเป็นศูนย์กลาง และเป็นศูนย์รวมของชาวไทยพวน เมื่อมีประเพณี หรือเทศกาลที่สำคัญก็มักทำในวัดที่ทำให้วัดในชุมชนไทยพวนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ประกอบด้วย วัดวัดฝั่งคลอง มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่รวบรวบเรื่องราวของชาวไทยพวนไว้ให้เยาวชนหรือผู้คนทั่วไปมาศึกษา วัดปทุมวงษาวาส มีการสาธิตการทำอาหารของไทยพวน เช่นข้าวกระยาคู และสาธิตการทอผ้า ที่ชาวไทยพวนนิยมทอผ้าใช้เองในอดีตและมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยและเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครนายก คือ ดอกสุพรรณิกา วัดเกาะหวาย สาธิตการทำอาหารของชาวไทยพวน นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด 

Downloads

Published

2017-04-25

Issue

Section

บทความวิชาการ