การบริหารจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของกรุงเทพมหานครตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords:
การบริหารจัดการ, การรักษาความปลอดภัย, สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ, กรุงเทพมหานคร, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงAbstract
การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของกรุงเทพมหานครตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากร คือ ประชาชนเป้าหมายทั้งหมดในเขตพื้นที่ของสำนักงานเขตประเวศ และในเขตพื้นที่ของสำนักงานเขตจตุจักร รวมประชากร 324,433 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2558 วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง และพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แนวลึกที่มีโครงสร้าง และเป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว ผู้เชี่ยวชาญ 9 คนนั้น คัดเลือกโดยใช้แนวคิดการสุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า สโนว์บอล ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ถูกนำมาประมวล วิเคราะห์ แปลความ และแสดงผลไว้ในตารางพร้อมคำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการคือ กรุงเทพมหานครเตรียมความพร้อม และคำนึงถึงความพึงพอใจของประชาชนในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจไม่มากเท่าที่ควร รวมทั้งขาดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคือ กรุงเทพมหานครควรเตรียมความพร้อมของบุคลากรและยานพาหนะสำหรับการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเพิ่มมากขึ้น และ (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ กรุงเทพมหานครควรนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อรักษาความปลอดภัยในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้าน มาปรับใช้เป็นแนวทาง เป็นกระบวนการ