การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: นโยบาย กระบวนการ และ ผลลัพธ์

Main Article Content

สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล, 6852279
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 6852279
ประพนธ์ สหพัฒนา, 6852279
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

Abstract

ปัญหาการก่อความไม่สงบและความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้น 11 ปีที่ผ่านมา อันมีรากเหง้าของปัญหาฝังลึกอยู่ในพื้นที่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ในทุกมิติของสังคม ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของนโยบาย กระบวนการและผลลัพธ์ ของการแก้ไขปัญหา โดยศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการของสภาพปัญหาความไม่สงบจากอดีตถึงปัจจุบัน นโยบายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยพิจารณาบทบาทของหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ  สภาพปัญหาและอุปสรรคที่ยังดำรงอยู่ รวมทั้งศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่มีต่อผลลัพธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีการดำเนินการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-informants) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อประกอบคำอธิบาย


            การศึกษาในครั้งนี้ ได้มีการศึกษานำเอางานวิชาการที่เกี่ยวข้องทางด้านการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ตลอดจนบทเรียนของไทย  จีน อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์


เพื่อนำมาเปรียบเทียบเป็นบทเรียนและประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  และมีการนำผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มาประเมินวิเคราะห์ ร่วมกับ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติจำนวน 13 คน เพื่อค้นหาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อผลลัพธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติโดยนำตัวแบบของเพรสแมนและวิลดัฟสกี้ (Pressman and Wildavsky) มาสังเคราะห์ และได้มีการออกแบบแนวคิดเสียใหม่ เรียกว่า ตัวแบบนิด้าดีฟเซ้าท์ (Nida Deep South Model) เพื่อให้เหมาะสมกับนโยบายความมั่นคงและบริบทในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Article Details

How to Cite
มั่นคงพิทักษ์กุล ส., ธำรงธัญวงศ์ ส., สหพัฒนา ป., & จิตร์ภิรมย์ศรี ศ. (2018). การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้: นโยบาย กระบวนการ และ ผลลัพธ์. Al-HIKMAH Journal, 6(12), 35–53. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/116340
Section
Research Article

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ. 2549. เอาชนะความรุนแรงด้วยพลังสมานฉันท์, กรุงเทพฯ: คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ. (รายงาน กอส.)

รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช. 2558. เส้นทางกระบวนการสันติภาพปาตานี. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

วรเดช จันทรศร. 2548. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: หจก. สหายบล็อกและการพิมพ์จำกัด.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). 2556. รายงานสรุปปัญหา และอุปสรรค จาก
ผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ช่วง 2 ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม 2555 – 23 สิงหาคม 2556. ค้นวันที่ 13 มกราคม 2557 จาก
http://www.sbpac.go.th/index.php?option=com_phocadownload&view=file&id=14&Itemid=568.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. 2556. กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน : แนวคิดเรื่องพหุวิธีและสหอาณาบริเวณสำหรับกระบวนการสันติภาพปาตานี. กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2547. 72 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

เสริมสุข กษิติประดิษฐ์. 2556. กระบวนการสันติภาพปาตานีในบริบทของอาเซียน : จังหวะก้าวภาคประชาสังคมในกระบวนการสันติภาพ. กรุงเทพมหานคร: หจก. ภาพพิมพ์.

อาคม ใจแก้ว. 2533. การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาปัจจัยที่
ส่งผลต่อความสำเร็จ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อิทธิชัย สีดำ. 2553. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิทยบริการ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2553.

อาภัสรา เฟื่องฟู. 2554. กระบวนการพูดคุยสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้: บทเรียนจากต่างประเทศ. รายงาน หลักสูตรนักบริหารการฑูต รุ่นที่4 ปี2555 สถาบัน ต่างประเทศ เทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

Calista, Donald J. 1994. “Policy Implementation,” in Stuart S. Nagel. Ed. Encyclopedia of Policy Studies. New York : Marcel Dekker, Inc.

Elmore, R.F. 1979. “Complexity and Control: What legislators and Administrators can do about Implenmentation.” Public Policy Papers No. 11. Institue of Governmental Research, University of Washington.

Hood, Christopher C. 1976. The Limits of Administration. London : Wiley.

Lipsky, M. 1980. Street-Level Bureaucracy: Dilemmas of the Individual in Public Services. New York: Russell Sage Foundation.

Kularb, Phansasiri. 2014. Beyond Conventional Professionalism: The Diverse Roles of Thai Journalism in the Southern Conflict. International Conference on Communication, Conflicts and Peace Processes: Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand 21-22 August 2014. Prince of Songkhla University, Pattani Campus.

Nunkaew, Kanuengkwan and Pokharapurkar, Raja. 2014. Cross Media Ownership and its impact: A Comparative Study of Media Organizationin India and Thailand in the Context of Conflict. International Conference on Communication, Conflicts and Peace Processes: Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand 21-22 August 2014. Prince of Songkhla University, Pattani Campus.

Phithakkumpol , Zakee . 2014. Re-examining the Past in the Indonesia Present: An Analysis of the Documentary Film‘ The Act of Killing’. International Conference on Communication, Conflicts and Peace Processes: Landscape of Knowledge from Asia and the Deep South of Thailand 21-22 August 2014. Prince of Songkhla University, Pattani Campus.

Pressman, J.L., and A. Wildavsky. 1973. Implementation. 2nd ed. California: University of California Press.

Sabatier, P.A. and Mazmanian. D.A. 1980. “The implementation of public policy: A Framework of analysis.” Policy Studies Journal Vol. 8 (special issue).

Van Meter, D. and Van Horn, C.E. 1975. The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society. (February)