ทัศนคติของนักศึกษาและบุคลากรที่มีต่อการตั้งครรภ์ระหว่างเรียนของวัยรุ่นมุสลิม ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคใต้ ประเทศไทย
Keywords:
วัยรุ่นมุสลิม, ทัศนคติ, การตั้งครรภ์Abstract
การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษาและบุคลากรที่มีต่อการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียนของวัยรุ่นมุสลิม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในภาคใต้ ของประเทศไทย จำนวน 405 คน โดยใช้แบบสอบ หาคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้ (try out) กับนักศึกษาและบุคลากรจำนวน 30 คน และนำมาปรับปรุง นำมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาท แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาและบุคลากรมีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียนของวัยรุ่นมุสลิมโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยค่าเฉลี่ยของระดับทัศนคติของนักศึกษาและบุคลากรที่มีต่อการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียนของวัยรุ่นมุสลิมที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ “ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนในเรื่องเพศ เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตและป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนหรือนักศึกษาได้” อยู่ในระดับสูง ระดับทัศนคติต่อการตั้งครรภ์ในระหว่างเรียนของวัยรุ่นมุสลิมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ “เมื่อวัยรุ่นมุสลิมมีการตั้งครรภ์และไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ต่อไป ครู อาจารย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรแนะนำให้นักศึกษายุติการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง” อยู่ในระดับต่ำ
นักศึกษาและบุคลากรมีข้อเสนอแนะให้สถานศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องรณรงค์ อบรม ให้ความรู้เพื่อให้วัยรุ่นในโรงเรียนหรือสถานศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศให้มากยิ่งขึ้น และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการตั้งครรภ์ในขณะที่อยู่ระหว่างเรียนหนังสือ หรือถ้าวัยรุ่นมีการตั้งครรภ์ โรงเรียนหรือสถานศึกษาควรให้คำแนะนำ ดูแล เอาใจใส่เป็นพิเศษ รวมทั้งให้โอกาสในการศึกษาทั้งในขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร
References
ทิพย์วัลย์ สุรินยา. 2557. การทำหน้าที่ของครอบครัวและความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค
และการปรับตัวของของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 21(2), 38-58.
page=sub&category=7&id=1913 (สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558).
นูรุดดีน สารีมิง . 2541. การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีการแต่งงาน กับหลักการแต่งงานตามศาสนาอิสลามของชาวไทยมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
เนตรชนก แก้วจันทา. 2555. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตั้งครรภ์: ปัจจัย ผลกระทบ และการป้องกัน, วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35(1), 83-90.
ปฏิญญา เอี่ยมสำอางค์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และ พรนภา หอมสินธุ์. (2558). ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 55-67.
ประไพ สุวรรณสุนทร. 2555. การขัดเกลาทางสังคมกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น. สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรฤดี นิธิรัตน์. 2551. สถานการณ์การสื่อสารเรื่องเพศศึกษาระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่นในครอบครัวไทย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 19(1), 45-47.
มาลี เกื้อนพกุล. 2556. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ...ปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 5 (ฉบับพิเศษ), 33-46.
มุรีด ทิมะเสนม. 2550. หลังเที่ยงคืน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
รณัชกาญจน์ ประกอบธัญญะศิริ. 2556. ยุทธศาสตร์การสร้างมาตรการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในเด็กวัยเรียน. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 15(2), 93-105.
วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. 2555. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 29(2), 82-92.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล และ คณะ. 2555. สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่น: การรับรู้ของวัยรุ่นใน 7 จังหวัดของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 21(5), 865-77.
สรัลภัค หมอกเรืองใส อุษา สุขาพันธ์ อภิญญา อุยยะพัฒน์ และสุดี จารุพันธ์. (2552). เหตุผลของการตั้งครรภ์ซ้ำและการดูแลตนเองของหญิงติดเชื้อเอชไอวี. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2557). แม่วัยทีน ประเด็นเก่า...เล่าใหม่ (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่:
http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/statistic55.pdf. (สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2558).
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. (2554). คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.(สืบค้นเมื่อ15 กันยายน 2558).
Burton, L.M., Allison, K.W.,& OBeidallah, D. (1996). Social Context and
Adolescent: Perspective on Development among Inner-City African
American Teens. In Shweder, R. (Ed.). Essays on Ethnography and
Human Development. Chicago; University of Chicago Press.
Chotigeat, U. Sawasdiworn, S. (2011). Comparison outcomes of sick babies
born to teenage mothers with those born to adult mothers. J Med
Assoc Thai, 94 Suppl 3:127-34.
Hodgkinson, S.C, Colantuoni E, Roberts D, Berg-Cross L, Horolyn ME. 2010. Depressive symptoms and birth outcomes among pregnancy teenagers.
J Pediatr Adolesc Gynecol, 23(1), 16-22.
Ladda Mo-suwan, Chanpen Choprapawon. (2006). Difference in Socio-Economic Status, Service Utilization, and Pregnancy Outcomes between Teenage
and Adult Mothers. J Med Assoc Thai, 89 (2), 145-51.
Marcus, S.M. Depression during pregnancy: rates, risks and consequences-
Motherisk Update 2008. 2009. The Canadian Journal of Clinical Pharmacology, 16(1), e15-22.
Solchany, J. (2007). Preventing Perinatal Depression, Northwest Bulletin, 21(2):
pp. 1-15
ข้อมูลอินเตอร์เน็ต
กระทรวงสาธารณะสุข. (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่: http://www.moe.go.th/moe/th/ news/detail.php?NewsID=19586&Key=news18. (สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2558).
นิติยา อิธิเสน, อนุพร นิลหลา และเกษวดี ชมชายผล. ม.ป.ป. โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมการเขียนข่าวเบื้องต้นและการรายงานข่าวสุขภาพ อินเตอร์นิวส์ (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่: http://islamhouse.muslimthaipost.com/main/index.php?
ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย. 2553. การศึกษาและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่:
http://ejustice.moj.go.th/rlpd_clinic/indexphp? (สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2558).
สุภาพร ปรารมย์. 2554. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โครงการสร้างเสริมพลังอำนาจมารดาวัยใสคลอดแล้วใส่ใจห่วงใยวัยเรียน (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่:
http://www.apnthai.org/CAPNT/page/ document/apn_supaporn.pdf.
(สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2558).
สุวรรณา เรืองกาญจนเศณษฐ์. 2556. มหิดลโมเดล ครัสเตอร์ป้องกัน “แม่วัยใสเกิดน้อยด้อยคุณภาพ (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่: http://thaipublica.org/2013/09/mahidol- model/. (สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2558).
สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. 2556. สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในประเทศไทย (ออนไลน์).. เข้าถึงได้ที่: http://www.m- society.go.th/article_ attach/10430/15330.pdf. (สืบค้นวันที่ 10 ตุลาคม 2558).
อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ. 2550. ทะเบียนสมรสซ้อนกับการมีภรรยาหลายคนในศาสนาอิสลาม (ออนไลน์). เข้าถึงได้ที่: http://www.oknation.net/blog/ print.php?id=131953. (สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2558).
อารีด้า สาเม๊าะ. ม.ป.ป. ปัญหาสังคมมุสลิมชายแดนใต้(ออนไลน์).เข้าถึงได้ที่: http://prachatai.com/m/ journal/36227. (สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558).