ผลของการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่มีต่อพฤติกรรม ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3

Main Article Content

ภารดี คงสี

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย 2) เพื่อศึกษาความสุขของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่โรงเรียนสรรเสริญอิสลาม ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ได้โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เวลาที่ใช้ในการวิจัยในภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 5 สัปดาห์ๆละ 2 วัน วันละ 40 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย จำนวน 10 ชุด 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย จำนวน 3 หัวข้อ 12 ข้อย่อย   3) แบบสังเกตความสุขของเด็กปฐมวัย จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติทดสอบหาความเที่ยงตรง การหาร้อยละค่าเฉลี่ย(X) และเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) การเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการฝึกโดยใช้สูตร t-test dependent


                    ผลการวิจัยพบว่า


                    1) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย มีค่าสูงกว่ากว่าคะแนนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 41.86 ค่า S.D 1.49 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


                    2) ผลการศึกษาความสุขของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย พบว่าระดับความสุขของเด็กอยู่ที่มากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.72 และค่าเฉลี่ยรวม S.D เท่ากับ 0.28


คำสำคัญ :   ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน,พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย

Article Details

How to Cite
คงสี ภ. (2021). ผลของการจัดประสบการณ์ด้วยชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยที่มีต่อพฤติกรรม ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3. Al-HIKMAH Journal, 11(22), 177–186. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/248632
Section
Research Article