ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทน จากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ สิงห์ศักดิ์ตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ฐานกุล กุฏิภักดี, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ศิษฏ์ธวัช มั่นเศรษฐวิทย์, 6852279 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ความสามารถในการทำกำไร, อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้น, บริษัทหมวดพาณิชย์

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นของบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยทำการศึกษาบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 15 บริษัท และสัมภาษณ์นักลงทุนในพื้นจังหวัดยะลา   ผลการศึกษา ดังนี้ 1) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROA มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของ บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05   2) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROE มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของ บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05   3) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร NPM มีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของ บริษัท ซีโอแอล จำกัด จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  4)  อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร OIM มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ กับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของ บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของ บริษัท ไมด้าแอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05  5) อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ROA, ROE, NPM และOIM ของบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย                                                                                 ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างนักลงทุนพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์หมวดธุรกิจพาณิชย์  ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนโยบายการส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ถ้าแนวโน้มในอนาคตของเศรษฐกิจเป็นไปในด้านลบ ก็มักจะคาดการณ์ว่าหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จะมีระดับราคาต่ำลง หรือถ้าแนวโน้มเศรษฐกิจเป็นไปในด้านบวก หลักทรัพย์โดยทั่วไปก็น่าจะมีระดับราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

References

กฤษฎา เสกตระกูล. (2556). การวิเคราะห์งบการเงิน. ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
นันทนา ศรีสุริยาภรณ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
บุญนาค เกิดสินธุ์. (2554). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาตลาดของหลักทรัพย์กลุ่มพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดทีพีเอ็น เพรส.
วิมุตติ พินิจกุล. (2555). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยเครื่องมืออัตราส่วนทางการเงินของบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
จุลนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ค้าปลีกปี’61แข่งดุ. [Online], เข้าถึงได้จาก : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/economic-wheel/news_727476 [2561, มกราคม 31]
สุจิตตา พึ่งแรง. (2553). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์หมวดพาณิชย์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุรกิจ คำวงศ์ปีน. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จกับกำไรขาดทุนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย-นอร์ท-เชียงใหม่.
สัณฑพงศ์ คล่องวีระชัย. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ในหมวดธุรกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อริยพงศ์ พันธ์ศรีวงค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะยาวและผลการปฏิบัตต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29

How to Cite

สิงห์ศักดิ์ตระกูล ด., ลิ่วคุณูปการ น., กุฏิภักดี ฐ., & มั่นเศรษฐวิทย์ ศ. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทน จากส่วนต่างราคาหุ้นของบริษัทในหมวดธุรกิจพาณิชย์ที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ, 9(18), 17–32. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/130176