การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
คำสำคัญ:
ความเข้าใจในการอ่าน, บทอ่าน, กิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาและ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนส่งเสริมศาสน์ จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มนักเรียน 1 ห้องจาก 4 ห้อง ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทอ่านนอกเวลา 30 บท 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกและ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลา เครื่องมือวิจัยทั้ง 4 ประเภทได้ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกฉบับ สำหรับแบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านมีค่าความยาก ง่ายเท่ากับ 0.23 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.27 – 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้จัดการเรียนรู้ด้วยตนเองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนส่งเสริมศาสน์ โดยใช้เวลา 4 สัปดาห์ รวม 16 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่ใช้บทอ่านนอกเวลาอยู่ในระดับมาก ( = 4.27)
References
เจะรอเมาะ มะดีเยาะ,นิสากร จารุมณี.(2555). “การใช้บทอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอิสลามในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ”.2555.วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.ปีที่ 5 (2):3
เนาวรัตน์ นุ่มอุรา. (2544). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและมนุษย์สัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอบตามรูปแบบเอริกา( ERICA MODEL) และสอนตามคู่มือครู/เนาวรัตน์ นุ่มอุรา.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
บัลลังก์ โรหิตเสถียร และนงศิลินี โมสิกะ. (2553). ครม.เห็นชอบให้การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ.(ออฟไลน์)แหล่งที่มา: http://www.moenews.net/index.php?option=com_ content&task =view&id =1377&Itemid=2&preview=popup วันที่สืบค้นข้อมูล 8 ตุลาคม 2258
เยาวเรศ ภักดีจิตร.(2557).เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน”.นครสวรรค์.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เลอสรวง วังศรี .(2554).การอ่าน.(ออฟไลน์).แหล่งที่มา: http://52010913444.blogspot.com/2011/12/blog-post.html วันที่สืบค้นข้อมูล 8 พฤศจิกายน 2560
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี.(2559). (ออฟไลน์).แหล่งที่มา http://www.pattani1.go.th/วันที่สืบค้นข้อมูล 8 ตุลาคม 2559
Apple white. (1965). P.B. Organizational and Behavior. New York: Prentice–Hall.