ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
คำสำคัญ:
ขวัญกำลังใจ, ผลการปฏิบัติงาน, ข้าราชการครูบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 350 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของกลุ่มประชากรในแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรู้สึกรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง และความรู้สึกพอใจในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีความแตกต่างกันตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ จำแนกตามเพศ อายุ และขนาดของสถานศึกษาที่สังกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน (X1) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน (X2) และปัจจัยด้านบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา (X3) โดยตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปรนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู ได้ร้อยละ 85 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ ±.23 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอย คือ
= -.15 + .50(X1) + .34(X2) + .17(X3)
References
กรองกาญจน์ เอกพิพัฒน์วงศ์. 2560. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสตูล. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กานต์พิชชา เก่งการช่าง. 2556. “เจนเนอเรชั่นวายกับความท้าทายใหม่ในการบริหารทรัพยากรบุคคล”, วารสาร สังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์, 2(1), หน้า 15-27.
ฉันทวรรณ เอ้งฉ้วน. 2560. “อิทธิพลของความมีอิสระในการทำงานกับบุคลิกภาพด้านเปิดรับ ประสบการณ์และ บุคลิกภาพด้านสำนึกในหน้าที่และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อประสิทธิผลการทำงานของ อาจารย์มหาวิทยาลัยในจังหวัดชุมพร”, วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 7 (มกราคม – มิถุนายน), หน้า 104-123.
ชณิตา บุเงิน และพิมุกต์ สมชอบ. 2559. “ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”, วารสารการจัดการ และการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 3(1) หน้า 203-226.
นินทร์ลดาว ปานยืน. 2560. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครยะลา. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ประกิจ ชอบรู้ และจุลดิศ คัญทัพ. 2562. “การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร”, วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7(28), หน้า 166-174.
มยุรฉัตร เงินทอง และณิรดา เวชญาลักษณ์. 2559. การศึกษาปัญหาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. การประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 และการประชุม วิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 3. หน้า 234-248.
มูฮำหมัด ตําเห. 2562. “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจของครูท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่ สงบสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา”, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 14 (กันยายน-ธันวาคม), หน้า 379-388.
เยาวลักษณ์ กุลพานิช. (2559). สภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพของงานข้าราชการ. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.]
รุ่งทิวา วิบูลพันธ์. 2562. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 2. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สมบัติ ปัญญาจิรพงศ์. 2556. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลชั้นประทวน พลทหาร และ อาสาสมัครในพื้นที่ปฏิบัติงานของกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมบูรณ์ นาควิชัย. 2560. “ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน”, Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2), หน้า 16-29.
สายทิพย์ เหล่าทองมีสกุล. 2559. “วิถีการดำเนินชีวิตและการทำงานของกลุ่มคน 3 ช่วงวัย : กรณีศึกษาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา”, วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 42(2), หน้า 80-99.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. 2563. ข้อมูลทั่วไป. จากอินเตอร์เน็ต. http://www.spn2.go.th/samutprakan2/index.php/2018-06-26-04-55-05 (ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563).
สุภาพรรณ สุขทอง. 2559. การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activitie”, Educational and Psychological Measurement. 30, p. 607-610.
Moos, R.H. (1986). The human context environmental determinants of behavior. New York: Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.