บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการจัดการ หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม 3) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา 4) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม และ 6) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 272 คน โดยคำนวณจากการใช้สูตรของยามาเน่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เปรียบเทียบการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6) ประมวลข้อเสนอแนะบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้แก่ ผู้บริหารควรอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม ให้ความสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร ผู้บริหารต้องเป็นที่ปรึกษาในทุกๆด้าน ผู้บริหารมีการสนับสนุน วางแผน เปิดโอกาสและมีการรับฟังปัญหาที่พบจากการสอน และร่วมแก้ไขกับคุณครู
คำสำคัญ : บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา; การดำเนินการจัดการหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม
References
พิชยา ทอดทิ้ง. (2558). สภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มใน โรงเรียนของรัฐ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิมผกา ธรรมสิทธิ์ (2554). หลักการบริหารการศึกษา. อุตรดิตถ์ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
มูฮำหมัด ตาเห. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการสร้างขวัญกำลังใจของครูท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏยะลา.
ยุทธนา เกื้อกูล. (2564). การจัดการศึกษาอิสลามในโรงเรียนของรัฐ : สภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนา. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน.
อำไพ โสดาดี และคณะ. (2562). บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.