บทความ แนวทางการพัฒนางานบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี และนำเสนอแนวทางการพัฒนางานบริหารงานวิชาการของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานด้านวิชาการในระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของการบริหารงานด้านวิชาการคือ การที่มหาวิทยาลัยสามารถขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ง่าย จุดอ่อนที่สำคัญในองค์กรก็คือ การขาดแคลนแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย อุปสรรคสำคัญต่อการบริหารงานวิชาการคือ การขาดการวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาว โอกาสในการพัฒนาการบริหารวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาหรือการวางแผนการพัฒนาโดยสอดแทรกการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปในหลักสูตร โดยร่วมมือกับทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร ส่วนแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านวิชาการได้แก่ 1) แนวทางเชิงรุก ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ที่ทันสมัย 2) แนวทางเชิงแก้ไข ควรกำหนดให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการวิชาการของมหาวิทยาลัย 3) แนวทางเชิงป้องกัน ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เป็นระบบออนไลน์ รวมถึงควรมีการวางแผนกลยุทธ์ในระยาว 4) แนวทางเชิงรับ ควรมีการฝึกอบรมการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ ให้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีการส่งเสริมการสร้างความรู้ทางวิชาการให้แก่ชุมชน
References
โกสุม สายใจ. 2561. สภาพการบริหารสถาบันอุดมศึกษากับความเป็นองค์กรส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม. วารสาร วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 1-12.
จักรกฤษณ์ สิริริน และสุชาดา นันทะไชย. 2559. แนวโน้มการใช้ e-Education ในการบริหารงานวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาของไทยในทศวรรษหน้า. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 10(21), 44-55.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ปรางทิพย์ เสยกระโทก และนพมาศสิริ วงศ์บา. 2557. ภาวะผู้นำทางวิชาการยุคใหม่ของ ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. HR Intelligence, 9(2), 50-63.
พัชญ์พิชา จันทา. 2563. แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภารดี อนันต์นาวี. 2557. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มนตรี จำกัด.
รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ, ณรงค์ พิมสาร และณัฐพล ชุมวรฐายี. 2559. รูปแบบการบริหารงานวิชาการของ มหาวิทยาลัยเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการ อุตสาหกรรมศึกษา, 10(2), 106-116.
วิเชียร สีหาบุตร. 2557. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยใน สังคมอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยาลัยศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเอกชน เอ บี ซี จังหวัดปทุมธานี. 2561. หลักสูตรศิลป
ศาสตรบัณฑิต. จากอินเตอร์เน็ต. https://www2.rsu.ac.th/faculty/Liberal-Arts (ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565).
สมควร ทรัพย์บำรุง. 2565. การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลง. จากอินเตอร์เน็ต. https://somkuansub.files.wordpress.com/2010/12/e0b881e0b8b2e0b8a3
e0b89ae0b8a3e0b8b4e0b8abe0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3- e0b8a1-e0b8a0e0b8b2e0b8a2e0b983e0b895.pdf (ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2565).
สัมนา รธนิตย์. 2560. หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2560. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.