การส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาในมารดามุสลิม
บทคัดย่อ
การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งในสังคมปัจจุบัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าและและประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาตามหลักการอิสลามและหลักการแพทย์ ตลอดจนแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา โดยทำการศึกษาเชิงเอกสารจากอัลกุรอาน อัลหะดิษ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า อิสลามให้ความสำคัญและเห็นถึงคุณค่าของการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดา โดยสั่งใช้ให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หากมารดาไม่สามารถให้นมบุตรจะต้องหาแม่นมมาให้นมบุตรแทน นอกจากนี้ข้อมูลทางการแพทย์ยังชี้ว่าการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดานั้นมีประโยชน์ทั้งต่อทารก มารดา ครอบครัว และสังคม ดังนั้นการส่งเสริมให้มารดามุสลิมมีความรู้เกี่ยวกับหลักการอิสลามว่าด้วยการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาจากอัลกุรอาน อัลหะดิษ มติปวงปราชญ์มุสลิม รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาตามหลักการแพทย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
References
คอลิด บิน หามิด อัล-หาซิมีย์. (2010). พัฒนาการของวัยทารก. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562 จากhttp://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=47&id=2240.
ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี แปลโดย บรรจง บินกาซัน. (2553). ตัฟฮีมุลกุรอาน ความหมายคัมภีร์ อัล-กุรอาน.กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสืออิสลาม.
ตัรมีซี สาและ และ ฮุสนา ดอเล๊าะ. (2557). ศึกษาบทบัญญัติอิสลามว่าด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กรณีศึกษา: ครอบครัวมุสลิมในหมู่บ้านบาเฆะ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2). 20-29.
นิตยา สินสุกใส. (2556). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรีวัน
มุรีด ทิมะเสน. (2553). สอนอิสลามตั้งแต่อยู่ในครรภ์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
วีณา จีระแพทย์ และ เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. (2563). กลวิธีสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมดาเพรสจำกัด
สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับแห่งประเทศไทย. (2542). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺ อัลมุเนาวะเราะฮฺ: ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.
อรสา เหมะจันทร (ภาวิน พัวพรพงษ์และคณะ : บรรณาธิการ). (2559). เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด
อับดุลลฮฺ นาศิหฺ อุลวาน. (2553). เลี้ยงลูกด้วยอิสลาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่องทางธรรม.
อาเซ็ม อัชชะรีฟ. (2552). กระบวนทัศน์อิสลามด้านสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
Abu Dawud, Sulaiman Ibn al-Ashath Ibn Shaddad al-Sijistani. (n.d). Sunan Abi Dawud. Beirut: Dar Ihya al-Turath al-Arabi.
Al-Bukhari, Muhammad Ibn Ismail. (1987). Sahih al-Bukhari. Beirut: Dar al-Qalam.
Al-Nasai, Abu Abd al-Rahman Ahmad Ibn Shuaib. (1986). Sunan al-Nasa’i. s.l. Dar al-Bashir al-Islamiyah.
Al-Tahhan and Mustafa Muhammad. (2002). Al-tarbiyah wa daruma fi Tashkil al-Suluk. s.i. s.n.
Al-Tirmizi, Muhammad Ibn Isa. (1983). Sunan al-Tirmizi. Beirut: Dar al-Fikr.
WHO: the optimal duration of exclusive breastfeeding: report of an expert consultation. Geneva, Switzerland: World health organization,2001
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.