การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปรียานุช ทองชู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • กนกกร ศิริสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 จำแนกตาม ระดับการศึกษาประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) รวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 จำนวน 272 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดสถานศึกษาและสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างแบบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 ที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 ที่ให้ข้อเสนอแนะ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม        ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กัญภร เอี่ยมพญา. (2556). ธรรมาภิบาลในสถานศึกษา. ฉะเชิงเทรา: บริษัทเอ็มเอ็น คอมพิวออฟเซท.

โกศล โสดา. (2560). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จัตตุพงศ์ สุราโพธิ์. (2563). สภาพและแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จารึก วงศ์ชัยภูมิ. (2556). หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอภูสิงห์ สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ดารินทร์ สงมะเริง. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนใน

เขตอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรงศักดิ์ ภูศรีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระยุทธ เด่นดวง. (2561). หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูจารุธรรมประภาส (ประพาส จารุปภาโส/คงศร). (2562). “ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหาร” วารสารนิสิตวัง. 21(1), 52.

ภัทรษร พลอยงาม. (2558). ได้ศึกษาการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน

มัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

เยาวดี รางชัยกุลวิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ ส่งเสริม. (2557). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

_______. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 17.

วงค์ อัตพงษ์. (2559). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล-โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วชิราภรณ์ บุญถนอม. (2558). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตาม

ทัศนะ ของครูในอำเภอโคกเจริญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนิดา กาบสุวรรณ. (2561). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน

ในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

วราพร ลูกไทย. (2558). การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการ

บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีพุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สิชล เพิ่มพูน. (2560). การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเกาะ

แก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิทธิโชค จี๋คีรี. (2556). ศึกษาการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารตามหลักธรรมาภิบาลในทัศนคติ

ของครูในเครือข่ายเขาชะเมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). “หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” รัฐสภาสาร. 65(7), 1-3.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970) “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and Psychological Measurement. 30(3): 608.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30