แบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากร ทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
ความสุขในการทำงาน, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, บุคคลากรทางการแพทย์ โควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจระดับความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ 2. พัฒนาและยืนยันแบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างระหว่างตัวแปรต่าง ๆ และลดความคลาดเคลื่อนในการเสนอผลการศึกษา เครื่องมือในการเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ได้แก่แบบสอบถามปลายปิดแบบมีโครงสร้างที่พัฒนามาจากแนวคิดความสุขในการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่
พสกนิกรชาวไทย เก็บข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการตอบกลับคืน จำนวน 318 ราย ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 8 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีความสุขด้านครอบครัวมากที่สุด (=3.56 และ S.D. = 0.56) และมีความสุขด้านสุขภาพที่ดี (
= 3.44 และ S.D. = 0.56) อยู่ในลำดับน้อยที่สุด นอกจากนั้น เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกองค์ประกอบและสามารถใช้อธิบายความสุขในการทำงานทั้ง 8 ด้านของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี โดยมีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (x2/df) เท่ากับ 1.19 ในขณะที่ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 และค่าดัชนีวัดระดับค่าความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในแบบจำลองพบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และมีค่าเป็นบวกทุกด้าน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 โดยพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบความสุขด้านการแสวงหาความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของตัวแปรย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบในงานมากที่สุดเท่ากับ 0.62 สามารถใช้อธิบายว่า ความรับผิดชอบในงานเป็นความสุขที่อธิบายความสุขด้านการแสวงหาความรู้เหมาะสมที่สุดถึงร้อยละ 62 ในขณะที่องค์ประกอบความสุขด้านสุขภาพดี มีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดในประเภทของความสุขทั้ง 8 ด้าน แต่อย่างไรก็ตามมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกทุกด้านอยู่ระหว่าง 0.75 – 0.89 และมีตัวแปรด้านการดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย 0.80 ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความสุขด้านสุขภาพดีได้มากที่สุดถึงร้อยละ 80
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2020). ประสบการณ์ของประเทศไทยในการจัดการกับโควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นจาก :
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/file/pub_doc/LDoc9.pdf [25 ธันวาคม 2563]
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ‘หมอ’ และ ‘พยาบาล’ รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขทำงานหนักแค่ไหนเพื่อสู้ โควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874658 [25 ธันวาคม 2563]
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php [25 ธันวาคม 2563]
กรมสุขภาพจิต. (2563). กรมสุขภาพจิต จับมือ เสถียรธรรมสถานฟื้นฟูจิตใจบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19 และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสร้างต้นแบบพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://gnews.apps.go.th/news?news=62662 [25 ธันวาคม 2563]
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). เบื้องหลังของด่านหน้า! “บุคลากรทางการแพทย์” ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000048685 [25 ธันวาคม 2563]
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). โควิด 19 และระบาดวิทยา: การสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=8&l=4 [25 ธันวาคม 2563]
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิท 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. (2563). COVID-19 ติดได้จากทางไหนบ้าง (ออนไลน์). สืบค้นจาก :
https://ch9airport.com/th/how-covid-19-contagion/ [25 ธันวาคม 2563]
ธุวนันท์ พานิชโยทัย, พิชฎา อารยานุรักษ์, อมรทิพย์ ภิรมย์บูรณ์, วารีรัตน์ ทองสม, เสาวรส หมอนวด, วิศรุต ตุ้ยศักดา. (2552). นวัตกรรม ภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร.
วรรณวิชนี ถนอมชาติ และณฤดี พรหมสุวรรณ. (2562). A Confirmatory Factor Analysis of Factors Promoting a Happy Workplace in the Eastern Region of Thailand. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 14-28.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์ เขต 4-5, 39(4), 616-627.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นภัสจันท์ มงคลพันธ์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, สุชีรา ภัทรายุตวรรณ์ และวิชัย มนัสศิริวิทยา. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 87-99.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th Ed.). New Jersey: Pearson Education.
Bentler, P.M., Chou, C.H. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods & Research, 16, 78–117.
Burton, J. (2010). WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting Literature and Practices. WHO Headquarters, Geneva, Switzerland.
Law, T. (2020). We Carry That Burden.' Medical Workers Fighting COVID-19 Are Facing a Mental Health Crisis. Retrieved December 25, 2020, From Time Magazine: https://time.com/5817435/covid-19-mental-health-coronavirus/
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4th Ed.). New York: Routledge.
United States Department of Labor Bureau of Statistics. (2010). American Time Use Survey. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.bls.gov/news.release/atus.nr0.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright@HRD Journal, Burapha University