Editorial Note

Main Article Content

Kritkorn Nawakitphaitoon

Abstract

วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัย 8 บทความ ซึ่งแต่ละบทความนั้นมีความหลากหลายในเนื้อหาสาระ บริบทที่ศึกษา และระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยบทความวิจัยในกลุ่มแรกเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ บทความวิจัยของ คุณวิสิทธิ์ มะณี  และรศ.ดร.บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ ที่ศึกษาอิทธิพลและกลไกความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจไทย บทความวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถในการจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเชิงพลวัต: หลักฐานเชิงประจักษ์ของธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย โดย คุณคมกริช     นันทะโรจพงศ์ ผศ.ดร.วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และผศ.ดร.จันทนา แสนสุข บทความวิจัยเรื่อง อิทธิพลการกำกับของความเครียดในการทำงานเชิงบวกที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในการทำงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานในอุตสาหกรรมการให้บริการด้านธุรกิจประกันชีวิต โดย คุณนนธณกฤต นวลศรี, รศ.ดร.มนตรี พิริยะกุล และอ.ดร.นรพล จินันท์เดช โดยบทความวิจัยทั้งสามเรื่องนี้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ด้วย Path Analysis เป็นหลัก และบทความวิจัยเรื่องสุดท้ายในกลุ่มนี้ โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชูชัย สมิทธิไกร และคุณภัทรานิษฐ์ โชติพิพิทย์กุล ศึกษาอิทธิพลของการจัดการความหลากหลายด้านช่วงอายุที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานเจนเนอเรชันวายโดยมีการรับรู้ว่างานมีความหมายเป็นตัวแปรสื่อและความทะเยอทะยานด้านอาชีพเป็นตัวแปรกำกับ


บทความวิจัยในกลุ่มที่สองเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บทความวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ศึกษาปัจจัยด้านองค์การและทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในองค์การ บทความวิจัยเรื่อง The Mechanisms of Resilient Organizations in the Context of Family Businesses in Thailand โดย คุณชญานุตม์ พึงเจริญพงศ์ และรศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี บทความวิจัยเรื่อง ประสบการณ์เส้นทางสู่ความสำเร็จของการเป็นผู้ประกอบการขนส่งทางถนนในประเทศไทย: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา โดย ผศ.ธนัตถ์ภัทร ถิรธนัชดิลก และคุณสันติธร ภูริภักดี และบทความวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาภาคกลางตะวันตก โดย รศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ, รศ.ดร.อุสา สุทธิสาคร, คุณพีรพัฒน์ พันศิริ, คุณกมลทิพย์ คงประเสริฐอมร และคุณรัยวินทก์ วิทวัสกุลวงศ์


เช่นที่เคยได้เรียนผู้อ่านไว้แล้วว่า กองบรรณาธิการตั้งใจที่จะพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพที่สูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากการใช้ระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารในระบบออนไลน์แล้ว ในวารสารฉบับนี้ยังได้เพิ่มสารสนเทศของระยะเวลาในการรับ (Received) การทบทวนแก้ไข (Revised) ซึ่งบางบทความอาจมีหลายครั้งเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุด จนมาถึงขั้นตอนการตอบรับ (Accepted) บทความลงตีพิมพ์ในวารสารไว้ด้วย ดังนั้นจึงขอเชิญชวนนักวิจัย นักวิชาการทุกท่าน ส่งบทความวิจัย/บทความวิชาการของท่านมาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ร่วมการพัฒนาส่งเสริมงานวิจัย/งานวิชาการที่มีคุณภาพให้เผยแพร่ได้กว้างขวางเพื่อประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

Section
Editorial Note