อิทธิพลของการเสริมสร้างแรงจูงใจทางวิชาการ ความสามารถของอาจารย์มืออาชีพ และการเสริมสร้างพลังการทำงานที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอน ของอาจารย์ผ่านตัวแปรคั่นกลาง การรับรู้ความสามารถแห่งตน ของอาจารย์ มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อ คุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประซาซนลาว (สปป. ลาว) และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิง ปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ตัวอย่างที่ใซิในการวิจัย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยใน สปป.ลาว 4 แห่ง จำนวน 351 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์รูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัย พบว่า: 1) การเสริมสร้างแรงจูงใจทางวิซาการ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อ คุณภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ (TIQ) เท่ากับ 0.23 และอิทธิพลทางอ้อม โดยผ่านตัวแปร คั่นกลางการรับรู้ความสามารถแห่งตนของอาจารย์ (TSE) เท่ากับ 0.18 ความสามารถของอาจารย์มือ อาชีพ มีอิทธิพลทางตรงเชิงลบต่อ (TIQ) เห่ากับ - 0.26 มีอิทธิพลทางอ้อมโดยผ่าน (TSE) เท่ากับ 0. 36 การเสริมสร้างพลังการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อ (TIQ) เท่ากับ 0.27 มีอิทธิพล ทางอ้อม โดยผ่าน (TSE) เท่ากับ 0.21 และ การเสริมสร้างพลังการท่างาน มีอิทธิพลทางตรงต่อ (TSE) เท่ากับ 0.44 และ (TSE) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก (TIQ) เท่ากับ 0.47. 2) การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง ประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (x2 = 62.95, df = 116, x2/df = 0.54, P-value = 0.99, GFI =0.98, AGFI = 0.97, SRMR = 0.026, RMSEA = 0.000) โดยรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนี้สามารถอธิบาย ความแปรปรวนของการรับรู้ความสามารถแห่งตนของอาจารย์ ได้ร้อยละ 39 และอธิบายความ แปรปรวนของตัวของคุณภาพการเรียนการสอนได้ ร้อยละ 78
Article Details
1) เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ เจ้าของผลงานมีการคิด ค้นคว้า ทบทวนวิเคราะห์ สรุป เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูลโดยผู้แต่งเอง กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
2) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งแต่เพียงผู้เดียวในการละเมิดลิขสิทธิ์
3) ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากทางกองบรรณาธิการวารสารฯ