ปัจจัยอิทธิพลของการถ่ายโอนความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นภาคการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ไทย

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ เอกพยงค์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การถ่ายโอนความรู้, การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้, สมรรถนะของผู้บริหารระดับต้น, อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องปัจจัยอิทธิพลของการถ่ายโอนความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นภาคการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการถ่ายโอนความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นภาคการผลิตของอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ไทย มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารระดับต้นภาคการผลิตภายใต้บังคับบัญชาโดยผ่านความคิดและมุมมองจากตัวแทนของผู้บริหารระดับที่สูงกว่าจากโรงงานในอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ทั่วประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 500 โรงงาน ด้วยการใช้เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยการถ่ายโอนความรู้และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งอิทธิพลต่อสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นภาคการผลิตในอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ โดยการถ่ายโอนความรู้ส่งอิทธิพลถึงสมรรถนะของผู้บริหารระดับต้นด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เฉลี่ย .801 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เฉลี่ย .605 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นกัน

References

โรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตาม พ.ร.บ. 2535. https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/

ธันยมัย เจียรกุล. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีน ที่มาศึกษาในประเทศไทย. วารสาร ธุรกิจปริทัศน์. 8(1): 43 – 60.

ปาริฉัตร หิรัญสาย. (2559). สมรรถนะของบุคลากรและการถ่ายโอนความรู้ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรม ในองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พเยาว์ สุดรัก. (2559). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภรณี แย้มพันธ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้แปรรูปตราดอยคำ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิศักดิ์ แก้วจินดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา.

อรพรรณ คงมาลัย และ อัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2560). Corporate governance model in Thai state-owned enterprises: structural equation modelling approach, Corporate Governance (Bingley). 17(4): 613 - 628.

Asean Briefing. (2022). เทียบค่าแรงขั้นต่ำ 10 ชาติอาเซียน. SingaporeLegalAdvice.com

Comrey, A., & Lee, H. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Hunter, B. N. (2016). The power of KM: harnessing the extraordinary value of knowledge management. Spirit rising productions.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for “intelligence”. American Psychologist. 28(1): 1-14.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art & practices of the learning organization. London: Random House Business Books.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competence at work: Models for superior performance. John Wiley & Sons, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30