บทบาทของผู้ใหญ่บ้าน ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ชญาดา ภาสุธนรัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง “บทบาทของผู้ใหญ่บ้าน ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน กรณีศึกษาอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งในการบริหารงานหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย  ผู้บังคับบัญชา ได้แก่ นายอำเภอ และปลัดอำเภอประจำตำบล จำนวน     5 คน และประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พบว่าผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มีหน้าที่ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน โดยแสดงออกซึ่งบทบาทในการบริหารจัดการตามตัวแบบของมินซ์เบิรก์ (Mintzberg's Managerial Roles) โดยมีบทบาทสำคัญ คือ ในการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านโดยปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของตำแหน่ง ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และทำหน้าที่ตามความคาดหวังของประชาชนในหมู่บ้าน ตามประเพณีและวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติต่อกันมา ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของหมู่บ้านคือ การที่ผู้ใหญ่บ้านมีความรู้ความสามารถ มีทีมงานที่ดี และมีคุณธรรมจริยธรรมในการครองตนในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ส่วนปัญหาและอุปสรรค ในการสร้างความเข้มแข็ง คือ การใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังคงเป็นจุดอ่อนของผู้ใหญ่บ้านโดยส่วนใหญ่ การสั่งงานของส่วนราชการที่ไม่ทับซ้อนและบูรณาการ การทำงานจะสามารถลดภาระหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านได้ ข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านในบางครั้งต้องอาศัยความเสียสละของประชาชนในหมู่บ้าน ประเด็นสุดท้ายคือการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องของประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2532). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2556). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิล เอ็ดดูเคชั่น จํากัด.

จารุพร เพ็งสกุล. (2545). ความคาดหวังของผู้นำชุมชนต่อบทบาทนักพัฒนาในการสร้างเสริมความ เข้มแข็งแก่ชุมชนพื้นที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสร้างเสริมความเข้มแข็งของ ชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตภาคใต้.(วิทยานิพนธ์ปรามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการพัฒนาชุมชน.

ชัยธวัช เนียมศิริ. (2561). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60). วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ฑิตยา สุวรรณะชฎ. (2527). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นําเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จํากัด.

ประมวล รุจนเสรี. (2547). “บทบาทหน้าที่ตามกฎหมายของ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน”. วารสารกํานันผู้ใหญ่บ้าน 57, 3(มี.ค.47): 13-19.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2554). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีย์โปรดักท์.

สรายุทธ์ หอมจันทร์. (2562). ”ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี.” วารสาร รัฐศาสตร์ปริทรรศน์ 7(1).

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2536). การวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำและพฤติกรรมผู้นำ. ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.